หน้าเว็บ

วันพุธที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2554

พระธาตุจอมกิตติ


พระธาตุจอมกิตติ
ที่ตั้ง วัดพระธาตุจอมกิตติ ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย โทร. o- ๕๓๖๕- o๕๓๔ มีพระครูวิกรมสมาธิคุณเป็นเจ้าอาวาส

ประวัติพระธาตุ ตามตำนานกล่าวว่า กษัตริย์แห่งราชวงค์โยนกองค์ที่ ๒๔ คือ พระเจ้าพังคราช พร้อมด้วยโอรส คือ พระเจ้าพรมมหาราช ได้รับพระบรมสารีริกธาตุจากพระเถระเจ้าชาวโกศล เมืองสุธรรมาวดี นามว่า พระพุทธโฆษาจารย์ รวม ๑๖ องค์ พระเจ้าพังคราชจึงทรงโปรดแบ่งพระบรมสารีริกธาตุออกเป็นขนาดใหญ่ ๑ องค์ ขนาดกลาง ๒ องค์ ขนาดเล็กอีก ๒ องค์ ประธานแก่พระยาเรือนแก้ว เจ้าเมืองไชยนาราย์ ซึ่งพระยาเรือนแก้วได้สร้างเจดีย์ประดิษฐานไว้ ณ. ดอยจอมทองที่เหลืออีก ๑๑ องค์ ทรงโปรดให้นำพระโกศแก้ว พระโกศเงิน มารองรับพระบรมธาตุ พระราชทานให้พระเจ้าพรหมมหาราชนำไปประดิษฐานไว้ที่ดอยน้อย หรือดอยจอมกิตติที่พระเจ้าสิงหนวัตนิ ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงค์โยนกได้เคยบรรจุพระบรมสารีริธาตุ ทั้ง

๑๑ไว้ด้วยกัน ในปี ๑๔๘๓ ในระยะต่อมาเจดีย์พระธาตุทรุดโทรมมากเจ้าฟ้าเฉลิมเมือง เจ้าเมืองเชียงแสน ได้ร่วมกับศรัทธาชาวเมืองบูรณะปฏิสังขรณ์ขึ้นอีกครั้งในปี ๒๒๓๗
การเดินทาง จากอำเภอเมืองใช้ทางหลวงหมายเลข ๑o๒o ผ่านอำเภอพญาเม็งรายใช้ทางหลวงหมายเลข ๑๑๗๔ ผ่านปากทางเข้าน้ำตกตากควัน บ้ายไชยพัฒนา เข้าเขตอำเภอเวียงเชียงรุ้ง ใช้ทางหลวงหมายเลข ๑o๙๘ ผ่านบ้านเนินสมบูรณ์ ปากทางแยกเข้าอำเภอเวียงชัย ปากทาง เข้ากิ่งอำเภอดอยหลวง ใช้ทางหลวงหมายเลข ๑๒๗๑ มุ่งตรงสู่อำเภอเชียงแสน ผ่านวัดพระธาตุผาเงา เข้าถนน บายพาส เข้าถนนเชียงราย – เชียงแสนไปอีก ๒ กิโลเมตร ถึงทางเข้าพระธาตุจอมกิตติ ฝั่งซ้ายมือรวมระยะทางทั้งสิ้น ๑๑๗ กิโลเมตร

ความเชื่อ ในการไหว้ พระธาตุดอยจอมกิตติเชื่อกันว่า ถ้าได้กราบไหว้และตั้งจิตอธิฐานท่านจะอุดมไปด้วยยศถาบรรดาศักดิ์ ลาภยศผู้คนสรรเสริญ เจ้าคนนายคน

คำบูชาพระธาตุจอมกิตติ
อะหัง วันทามิ ปะระมะสารีริกกะธาตุโย
กะกุสันธัสสะ จะโกนาคะ นะมัสสะจะ
กัสสะธัสสะ จะสะมะนะโกตะมัสสะ เจวะ
นิพานนะ ปัจจะโย โหตุ

วันอาทิตย์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2554

พระธาตุจอมสัก


พระธาตุจอมสัก
ที่ตั้ง วัดพระธาตุจอมสัก ตำบลบ้านดู่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย โทร. o- ๕๓๗o- ๓๑๙๖ มีพระอธิการอภิเดช เป็นเจ้าอาวาส

ประวัติพระธาตุ พระธาตุจอมสักเดิมชื่อ พระธาตุดอยบ้านยาง ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากแม่น้ำกกมากนัก สร้างขึ้นในสมัยโยนกไชยบุรีศรีเชียงแสน จนถึงสมัยพระเจ้าพังคราช กษัตริย์แห่งราชวงค์โยนก องค์ที่ ๒๔ ได้มีพระเถระองค์หนึ่งชาวโกศล เมืองสุธรรมาวดี นามพระพุทธโฆษาจารย์ ได้นำพระบรทสารีริกธาตุจากประเทศลังกามาถวายพระองค์จำนวน ๑๖ องค์ พระเจ้าพังคราชทรงโปรดให้แบ่งพระธาตุออกเป็น ๓ ส่วน ส่วนหนึ่งประดิษฐานอยู่บนพระธาตุดอยจอมทอง ส่วนที่สองประดิษฐานอยู่บนพระธาตุจอมกิติ และส่วนที่สามนำมาประดิษฐานที่พระธาตุดอยบ้านยาง ต่อมา ใน พ.ศ. ๒๔๙o พระครูบาคำหล้า สังวโร ได้เป็นประธานในการบูรณะพระธาตุองค์ใหม่ โดยสร้างครอบพระธาตุองค์เดิมไว้และได้สร้างวิหารเรือไว้สักยกใต้ถุนหลังหนึ่ง และได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นพระธาตุจอมสักจนถึงทุกวันนี้

การเดินทาง
จากอำเภอแม่จันใช้ถนนเชียงราย-แม่สาย (ทางหลวงหมายเลข ๑ ) ลงใต้สู่อำเภอเมือง ผ่านตลาดบ้านดู่ ปากทางเข้าท่าอากาศยานเชียงราย ห้างสรรพสินค้าแมคโคร พบยูเทริ์นแรกเลี้ยวขวา เข้าปากทางเข้าพระธาตุจอมสักพอดีเข้าไปอีกประมาณ ๔oo เมตร รวมระยะทางประมาณ ๒๕ กิโลเมตร

ความเชื่อ
ในการไหว้ พระธาตุดอยจอมสัก เชื่อกันว่าถ้าได้กราบไหว้ท่านจะได้รับสิริมงคลสูงสุดและพานพบแต่สิ่งดีๆ เข้ามาในชีวิตอย่างน่าอัศจรรย์

คำบูชาพระธาตุจอมสัก
อะระหัง วันทามิ ธาตุโย
สัพพะฐาเนสุ สุปะฏิ ปะทิตา
อะระหังวันทามิ สัพพะโส

วันอังคารที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2554

พระธาตุจอมจันทร์



พระธาตุจอมจันทร์

ที่ตั้ง วัดจอมจันทร์ ตำบลสันทราย อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย โทร. o- ๕๓๗๗-๒๑๒๙ มีพระมหายงยุทธเป็นเจ้าอาวาส
ประวัติพระธาตุ พระครูบาทิพย์ เจ้าอาวาสวัดบ้านแหลว เป็นผู้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๓ โดยเห็นนิมิตในคืนหนึ่ง เป็นแสงพุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้าสว่างไสวระยิบระยับสีเขียวบนดอยที่ตั้งขององค์พระ ธาตุ สักครู่ก็หายไป เช้าวันรุ่งขึ้นพระครูบาทิพย์จึงชวนสามเณรขึ้นไปสำรวจตรวจตราดูบนยอดดอยแห่ง นี้ เห็นว่าเป็นสถานที่ที่เหมาะสมแก่การสร้างพระธาตุเจดีย์เป็นอย่างยิ่ง เพราะว่าดอยแห่งนี้มีคูล้อมรอบ โดยการขุดของคนโบราณ ซึ่งไม่ติดกับดอยลูกใดเลยในบริเวณใกล้เคียงกัน จึงชักชวนญาติโยมสาธุชนทั้งหลายร่วมกันก่อสร้างเจดีย์ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๖๘ จึงได้ก่อสร้างกุฏิ วิหาร และศาลาตามลำดับ ตั้งเป็นวัดชื่อว่า วัดพระธาตุจอมจันทร์ มีภิกษุจำพรรษาติดต่อกันมาจนถึง พ.ศ. ๒๔๘o ได้เกิดไฟป่าลุกลามไหม้ศาลาและกุฏิจนหมด คงเหลือไว้แต่พระเจดีย์และวิหาร ศรัทธาชาวบ้านจึงได้ย้ายมาสร้างวัดอยู่ข้างล่าง อยู่ห่างจากวัดเดิม ๓oo เมตร วัดพระธาตุจอมจันทร์จึงได้กลายเป็นวัดร้าสงตั้งแต่นั้นมา จนถึงปี ๒๕๔๒ จึงได้มีการบุรณะขึ้นมาใหม่ โดยพระมหายงยุทธ เทวธัมโม พร้อมคณะศรัทธา
การเดินทาง ออกจากอำเภอเชียงแสนใช้ถนนสายเชียงราย-เชียงแสน (ทางหลวงหมายเลข ๑o๑๖) มุ่งสู่อำเภอแม่จัน ผ่านอำเภอจันจว้า ตำบลจอมสวรรค์ และตำบลสันทราย ถึงปากทางเข้าอำเภอจอมจันทร์ รวมระยะทางประมาณ ๓o กิโลเมตร

ความเชื่อ
ในการไหว้ พระธาตุจอมจันทร์ เชื่อกันว่าถ้าได้กราบไหว้และตั้งจิตอธิฐานผิวพรรณสวยงามเปล่งปลั่งรัศมีดุจ แสงจันทร์งดงามอย่างหาที่เปรียบไม่ได้

คำบูชาพระธาตุจอมจันทร์

อิทัง วันทามิ เจติยัง สักกัจจัง วะระสัญญิตัง
อะหัง วันทามิ ธาตุโย อิธะปัพะเต
ปะติฏฐิตา เอตนะ มะมะปุญญานุพาเวนะ
สะทาโสตถี ภะวันตุเต

วันพฤหัสบดีที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2554

พระธาตุจอมผ่อ


พระธาตุจอมผ่อ
ที่ตั้ง วัดอรัญญวิเวกคีรี (จอมผ่อ) บ้านดง-หล่ายหน้า หมู่ ๗ ตำบลเวียง อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย โทร. o-๕๓๗๘- ๑๓๖๓ มีพระครูปฏิภาณธรรมทิ เป็นเจ้าอาวาส
ประวัติพระธาตุ ตามหลักฐานเอกสารในทำเนียบการตั้งวัดของจังหวัดเชียงรายระบุว่าได้สร้างขึ้น เมื่อ พ.ศ. ๒๒๖๓ แต่ยังไม่พบหลักฐานใดอื่นอีก นอกจากหลักฐานทางโบราณวัตถุ เช่น เจดีย์ พระพุทธรูป กองหินกองอิฐที่สันนิษฐานได้ว่า ตรงนี้เคยเป็นโบสก์เป็นวิหารมาก่อนเท่านั้นจากคำบอกเล่าของคนรุ่นก่อนกล่าว ว่า ที่วัดม่อนจอมฝ่อนี้ เดิมมีพระพุทธรูปทองเหลืองทองแดงองค์เล็กองค์ใหญ่จำนวนมาก พิงอยู่ตามต้นไม้บ้าง วางอยู่บนกองอิฐกองดินบ้างไม่มีใครสนใจ เมื่อทางการได้เข้าไปสำรวจโบราณวัตถุ ประกอบกับทางวัดไม่มีผู้ดูแลแน่นอน จึงได้เก็บเอาพระพุทธรูปที่เป็นโลหะชนิดต่างๆไปรวบรวมไว้จนหมดไม่เหลือแม้ แต่องค์เดียว ในระหว่างการรื้อเจดีย์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒o ยังพบวัตถุมงคลอีกมากมายพร้อมแผ่นเงินจารึกประวัติศาสตร์การสร้างเจดีย์ที่ จานด้วยเหล็กจานเป็นภาษาล้านนา จึงได้มีการบูรณะเรื่อยมา จนเสร็จสิ้นสมบูรณ์ในวันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๔๖ และได้จัดให้มีประเพณีสงฆ์น้ำพระธาตุจอมฝ่อขึ้นทุกวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๔

การเดินทาง
จากตำบลจอมหมอกแก้วบนทางหลวงหมายเลข ๑๒๑๑ มาถึงทางแยกเข้าทางหลวงหมายเลข๑๑๘ (ถนนเชียงราย – เชียงใหม่) มุ่งตรงสู่อำเภอเวียงป่าเป้า ผ่านสวนทิพย์วนารีสอรท์ สำนักงานเทศบาลตำบลเวียงป่าเป้า โรงเรียนอนุบาลสันสลีและวัดศรีสุพรรณเข้าซอยฝั่งตรงข้ามวัดประมาร ๒ กิโลเมตร ถึงวัดอรัญวิเวกคีรีอันเป็นที่ตั้งของพระธาตุจอมฝ่อ รวมระยะการเดินทางทั้งสิ้น ๖๕ กิโลเมตร

ความเชื่อในการไหว้พระธาตุดอยจอมผ่อ ผ่อ เป็นภาษาเหนือ แปลว่า ดูหรือมอง เชื่อกันว่าถ้าได้กราบไหว้และตั้งจิตอธิฐานเปรียบเหมือนการลืมตาเจอแสงสว่าง ในชีวิต


คำบูชาพระธาตุจอมผ่อ
อิทัง วันทามิ เจติยัง สักกัจจัง
วะระสัญญิตัง เอเตนะ มะมะ
ปุญเญนะ สะทา โสตถี ภะวันตุเม

วันอังคารที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2554

พระธาตุจอมแจ้ง



พระธาตุจอมแจ้ง

ที่ตั้ง วัดพระธาตุจอมแจ้ง ตำบลแม่สรวย อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย โทร o- ๕๓๖๕-๖๒๙๗ มีพระครูอดุลสีหวัตรเป็นเจ้าอาวาส
ประวัติพระธาตุ วัดพระธาตุจอมแจ้งเป็นวัดเก่าแก่มาแต่โบราณ ตามตำนานกล่าว่า มีพระมหาเถระเจ้ารูปหนึ่งได้เดินทางจาริกเทศนาสั่งสอนพุทธศาสนิกชน เพื่อเป็นการประกาศพุทธศาสนามาจนถึงสถานที่แห่งนี้จนถึงรุ่งแจ้งสว่างพอดี เมื่อปี พ.ศ. ๒oo๑ จึงได้ขอวานตาแก่คนหนึ่งที่ปฏิบัติธรรม เฝ้ารักษาพระธาตุแห่งนี้ให้ไปตักน้ำที่แม่น้ำซ่วยขึ้นมาล้างหน้า และได้พักอยู่ที่นี่ ๗ วัน ก่อนที่จะเดินทางต่อไปได้มอบพระบรมสารีริกธาตุให้ตาแก่คนนั้นนำไปบรรจุลงใน พระธาตุจนเป็นที่สำเร็จลุล่วงแล้วจึงเดินทางจาริกต่อไป และยังได้ทำนายไว้ว่าสมัยต่อไปข้างหน้านี้ ชาวบ้านจะเรียกสถานที่แห่งนี้ว่า “พระธาตุจอมแจ้ง” ส่วนแม่น้ำซ่วยนั้น ชาวบ้านจะเรียกเปลี่ยนไปว่า “แม่น้ำสรวย” ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๘๒ หลวงพ่ออดุลสีหวัตต์ (สิงห์คำ) ได้มาดำรงตำแหน่งเจ้าคณะตำบลแม่สรวย และเป็นเจ้าอาวาสวัดพระธาตุจอมแจ้ง ได้เทศนาอบรมประชาชนให้มีความเชื่อถือเลื่อมใสในองค์พระธาตุแน่นแฟ้นขึ้นจน ประชาชนในเขตอำเภอแม่สรวยได้จัดงานบุญประเพณีทุกวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ แดละได้แนะนำชักชวนศรัทธาญาติโยมให้ช่วยกันบูรณปฏิสังขรณ์ สิ่งปลูกสร้างภายในวัดพิ่มขึ้นและยังเป็นที่ประดิษฐานของหลวงพ่อทองทิพย์ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ และเชื่อกันว่ามีความศักดิ์สิทธิ

การเดินทาง
จากเวียงป่าเป้า ย้อนกลับขึ้นไปทางเหนือทางหลวงหมายเลข ๑๑๘ (ถนนเชียงใหม่ – เชียงราย) สู่อำเภอแม่สรวย ผ่านปากทางเข้าโรงงานเชียงรายไวน์เนอร์รี่ ศาลสมเด็จพระนเรศวร, โรงพยาบาลแม่สรวย ข้ามสะพานแม่น้ำลาว ตีนสะพานมีซอยเลี้ยวซ้ายเข้าสู่พระธาตุจอมแจ้งอีก ๒oo เมตร รวมระยะทางทั้งสิ้น ๔o กิโลเมตร

ความเชื่อ
ในการไหว้ พระธาตุดอยจอมแจ้ง เชื่อกันว่า ถ้าได้กราบไหว้และตั้งจิตอธิฐานท่านจะประสบความสำเร็จและรู้แจ้งเห็นจริง
คำบูชาพระธาตุจอมแจ้ง
อิมัสมิง อะรุนุธคะมะเน
ประภัตตะเคทิตัง ธาตุ เจติยัง
อะหังวันทามิ สะระสา อะหังวันทามิ สัพพะทา