หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ศูนย์ส่งเสริมเกษตรที่สูงดอยผาหม่น

ศูนย์ส่งเสริมเกษตรที่สูงดอยผาหม่น เป็นหนึ่งในพระดำริ ของรพระราชินี ทรงโปรดให้ส่งเสริมชาวเขาให้ได้มีการปลูกพืชเมืองหนาวแทนการปลุกฝิ่นในสมัยก่อน และได้มีการนำพันธุ์พืชเมืองหนาวหลายต่อหลายชนิดมาทำการทดลองปลูก รวมถึงดอกไม้เมืองหนาวด้วย

ศูนย์ส่งเสริมการเกษตรที่สูงดอยผาหม่น (ดอกทิวลิป)
ข้อมูลติดต่อ
องค์การบริหารส่วนตำบลตับเต่า โทร.053-918555

ที่ตั้ง ดอยผาหม่น อำเภอเทิง เป็นศูนย์ส่งเสริมการเพาะปลูกดอกไม้เมืองหนาว เช่น ดอกทิวลิป ดอกลิลลี่ ดอกซัลเวียสีแดง ต้นคริสต์มาสสีแดง หลากสีหลายพันธุ์ โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาวดอกไม้จะออกดอกสวยงามเพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยวที่ เดินทางมาเที่ยวชม รอบบริเวณยังมีทิวทัศน์สวยงามดูแล้วสดชื่นท่ามกลางอากาศที่หนาวเย็น

 ศูนย์ฯ มีบ้านพักบริการนักท่องเที่ยว 3 หลัง ราคา 1,200 บาท/หลัง พักได้หลังละ 10–15 คน ไม่มีร้านจำหน่ายอาหาร ต้องสั่งจองล่วงหน้า




การเดินทาง จากตัวเมืองเชียงราย ไปตามทางหลวงหมายเลข 1020 สู่อำเภอเทิง แล้วไปตามทางหลวงหมายเลข 1155 อยู่ริมทางผ่านก่อนถึงภูชี้ฟ้า สำหรับรถโดยสารประจำทาง มีรถออกจากสถานีขนส่ง เวลา 13.00 น. ผ่านบ้านปางค่า ผ่านภูชี้ฟ้า ประมาณ 10–13 กิโลเมตร ค่าโดยสารราคา 40 บาท ตลอดเส้นทางเป็นทางลาดยางตลอด หรือเช่ารถตู้จากตัวเมือง ราคา 1,500 บาท ใช้เวลาเดินทาง 3 ชั่วโมง



ที่พักแรม
- บ้านสายธาร พักได้ 10 คน ที่นอนเสริม 3 ที่
- บ้านขุนเขา พักได้ 15 คน ที่นอนเสริม 5 ที่
- บ้านแมกไม้ พักได้ 15 คน ที่นอนเสริม 4 ที่
- เต็นท์เช่า สำหรับ 1-2 คน คืนละ 180 บาท/หลัง
- เต็นท์เช่า สำหรับ 3-4 คน คืนละ170 บาท/หลัง
- นำเต็นท์มาเอง คืนละ 70 บาท
อัตราค่าที่พักพร้อมอาหารเช้า-เย็น คืนละ 400 บาท/คน เฉพาะที่พัก คืนละ 200 บาท / คน


วันจันทร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ภูชี้ฟ้า สูงเฉียดฟ้า ดอยผาหม่น




มาทำความรู้จักกับภูชี้ฟ้า ดอยผาหม่น ขุนเขา กั้นแดน ไทยลาว สุดเขต เชียงราย

เทือกเขาสูงตระง่าน กั้นเขตแดนไทย - ลาว ในเขต อำเภอเทิง และอำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย และเรื่องราวต่างๆเมื่อครั้งอดีต จนถึงปัจจุบัน...

ความเป็นมาของภูชี้ฟ้า :

ภูชี้ฟ้า เป็นส่วนหนึ่งของเทือกดอยผาหม่น ที่เป็นพรมแดนไทย-ลาว ด้าน จังหวัดเชียงราย - จังหวัดพะเยา ลักษณะเป็นหน้าผาหินตั้ง อยู่บนเส้นกั้นพรมแดนพอดี ในอดีต เป็นพื้นที่เคลื่อนไหวของ พคท. ด้วยสภาพภูมิประเทศที่สูงชัน จึงเป็นฐานที่มั่นที่สำคัญ ชาวลาวและชาวไทย ในพื้นที่เรียกผาหินที่ชี้เหยียดตรงขึ้นไปบนฟ้าว่าภูฟ้า เมื่อปัญหาด้านความมั่นคงคลี่คลาย มีการตัดถนนขนานแนวชายแดน ไทย-ลาว จากบ้านผาตั้ภูชี้ฟ้า ไปถึง อ.เชียงคำ ภูชี้ฟ้าจึงเริ่มเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยว ตั้งแต่ปี พ.ศ.2534 เป็นต้นมา


อย่างไรก็ตาม บนยอดภูชี้ฟ้า เป็นจุดที่ยื่นจากแนวเขตพรมแดน จึงไม่สามารถระบุชัดได้ว่า อยู่ในเขตไทยหรือลาว แต่ทางขึ้นสู่ยอดภูชี้ฟ้านั้นอยู่ในเขตไทย เคยมีการปักธงชาติไทยบนปลายสุดของหน้าผา แต่ในวันถัดมา ทหารลาวก็จะนำธงลาวมาปักเคียงคู่กันด้วย ดังนั้นเพื่อความปลอดภัย จึงห้ามนักท่องเที่ยวพักแรมบนภูชี้ฟ้า