หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2554

วัดร่องขุ่น



วัดร่องขุ่น เป็นวัดที่มีความสวยงามโดดเด่นต่างจากวัดอื่นๆ ด้วยฝีมือการออกแบบ และก่อสร้างของ อ. เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินชื่อดัง เพื่อเป็นวัดประจำบ้านเกิด สร้างโดยจินตนาการของอาจารย์ จัดเป็นงานพุทธศิลป์ที่ยิ่งใหญ่ และงดงามน่าแวะชมมากแห่งหนึ่ง




            อ. เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ มีแรงบันดาลใจในการสร้างวัดแห่งนี้อยู่ 3 ประการ คือ เพื่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ซึ่งอาจารย์บอกว่า
จึงตั้งความปรารถนาที่จะถวายชีวิต ใช้ช่วงเวลาที่ดีที่สุดของตนเอง สร้างงานพุทธศิลป์ เพื่อเป็นงานประจำรัชกาลของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้ได้ และจะถวายชีวิตไปจนตายคาวัด" (จากเอกสารของวัดร่องขุ่น) ความงดงามของวัดแห่งนี้อยู่ที่ "โบสถ์" เพราะอาจารย์อยากจะเนรมิตวัดให้เหมือนเมืองสวรรค์ เป็นวิมานบนดินที่มนุษย์สามารถสัมผัสได้ โบสถ์ เปรียบเหมือนบ้านของพระพุทธเจ้า สีขาว แทนพระบริสุทธิคุณของพระพุทธเจ้า กระจกขาว หมายถึง พระปัญญาธิคุณของพระพุทธเจ้าที่เปล่งประกายไปทั่วโลกมนุษย์ และจักรวาล



สะพาน หมายถึง การเดินข้ามวัฏสงสารมุ่งสู่พุทธภูมิ ก่อนขึ้นสะพานครึ่งวงกลมเล็ก หมายถึง โลกมนุษย์ วงใหญ่ที่มีเขี้ยวเป็นปากของพญามารหรือพระราหู หมายถึง กิเลสในใจแทนขุมนรกคือทุกข์ ผู้ที่จะเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าในพุทธภูมิต้องตั้งจิตปลดปล่อยกิเลสตัณหาของตน เองลงไปในปากพญามาร เพื่อเป็นการชำระจิตให้ผ่องใสก่อนที่จะเดินผ่านขึ้นไปพบกับพระราหูอยู่ เบื้องซ้าย และพญามัจจุราชอยู่เบื้องขวา บนสันของสะพานจะประกอบไปด้วยอสูรกลืนกัน 16 ตน ข้างละ 8 ตน หมายถึง อุปกิเลส 16 จากนั้นก็จะถึงกึ่งกลางสะพานหมายถึง เขาพระสุเมรุ ซึ่งเป็นที่อยู่ของเทวดา ด้านล่างเป็นสระน้ำหมายถึง สีทันดรมหาสมุทร มีสวรรค์ตั้งอยู่ด้วยกัน 6 ชั้นด้วยกัน ผ่านสวรรค์ 6 เดินลงไปสู่พรหม 16 ชั้น แทนด้วยดอกบัวทิพย์ 16 ดอกรอบพระอุโบสถ ดอกที่ใหญ่สุด 4 ดอก ตรงทางขึ้นด้านข้างโบสถ์หมายถึง ซุ้มพระอริยเจ้า 4 พระองค์ ประกอบด้วยพระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ เป็นสงฆ์สาวกที่ควรกราบไหว้บูชา

ก่อนขึ้นบันได ครึ่งวงกลมหมายถึง โลกุตตรปัญญา บันไดทางขึ้น 3 ขั้นแทน อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา ผ่านแล้วจึ้งขึ้นไปสู่อรูปพรหม 4 แทนด้วยดอกบัวทิพย์ 4 ดอกและบานประตู 4 บาน บานสุดท้ายเป็นกระจกสามเหลี่ยมแทนความว่าง ซึ่งหมายถึงความหลุดพ้น แล้วจึงก้าวข้ามธรณีประตูเข้าสู่พุทธภูมิ
ภายในประกอบด้วยภาพเขียนโทนสีทองทั้งหมด ผนัง 4 ด้าน เพดานและพื้นล้วนเป็นภาพเขียนที่แสดงถึงการหลุดพ้นจากกิเลสมาร มุ่งเข้าสู่โลกุตตรธรรม ส่วนบนของหลังคาโบสถ์ ได้นำหลักการของการปฏิบัติจิต 3 ข้อ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา นำไปสู่ความว่างคือความหลุดพ้นนั่นเอง
นี่เป็นเพียงรายละเอียดคร่าวๆ ของโบสถ์ของวัดร่องขุ่น ส่วนรายละเอียดจริงๆ นั้น อาจารย์บอกว่าจะสร้างทั้งหมด 9 หลัง แต่ละหลังมีความหมายเป็นคติธรรมทุกหลัง ผมหวังจะสร้างงานพุทธศิลป์ของแผ่นดินให้ยิ่งใหญ่อลังการ เพื่อให้คนทั้งโลกยอมรับ และปรารถนาจะมาชื่นชมให้ได้ จะถวายชีวิตสร้างจนลมหายใจสุดท้าย และได้สร้างลูกศิษย์รอรับช่วงต่ออีก 2 รุ่น หลังผมตาย คาดว่าจะเสร็จสมบูรณ์ทั้ง 9 หลัง คงใช้เวลาทั้งหมด 60-70 ปีครับ"
นอกจากจะชมความงดงามของพระอุโบสถแล้ว ยังสามารถเข้าชมผลงานของอาจารย์ และเลือกซื้อของที่ระลึกจากวัดร่องขุ่นได้อีกด้วย  

การเดินทาง : ถนนสายเชียงราย - กรุงเทพฯ ถ้ามาจากกรุงเทพฯ หรือเชียงใหม่ วัดร่องขุ่นจะอยู่ก่อนถึงตัวเมืองเชียงราย 13 ก.ม ตรงหลัก ก.ม ที่ 816 ถนนพลหลโยธิน (หมายเลข 1 / A2 ) เลี้ยวเข้าไปประมาณ 100 เมตร จะมีป้ายบอกเป็นระยะๆ
วัด : เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 6.30 - 18.00 น.
ห้องแสดงภาพ : เปิดให้เข้าชมวันจันทร์ - ศุกร์ 8.00 - 17.30 น.
ส่วนวันเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดราชการ เวลา 8.00 - 18.00 น.

วันพุธที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2554

พระธาตุจอมกิตติ


พระธาตุจอมกิตติ
ที่ตั้ง วัดพระธาตุจอมกิตติ ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย โทร. o- ๕๓๖๕- o๕๓๔ มีพระครูวิกรมสมาธิคุณเป็นเจ้าอาวาส

ประวัติพระธาตุ ตามตำนานกล่าวว่า กษัตริย์แห่งราชวงค์โยนกองค์ที่ ๒๔ คือ พระเจ้าพังคราช พร้อมด้วยโอรส คือ พระเจ้าพรมมหาราช ได้รับพระบรมสารีริกธาตุจากพระเถระเจ้าชาวโกศล เมืองสุธรรมาวดี นามว่า พระพุทธโฆษาจารย์ รวม ๑๖ องค์ พระเจ้าพังคราชจึงทรงโปรดแบ่งพระบรมสารีริกธาตุออกเป็นขนาดใหญ่ ๑ องค์ ขนาดกลาง ๒ องค์ ขนาดเล็กอีก ๒ องค์ ประธานแก่พระยาเรือนแก้ว เจ้าเมืองไชยนาราย์ ซึ่งพระยาเรือนแก้วได้สร้างเจดีย์ประดิษฐานไว้ ณ. ดอยจอมทองที่เหลืออีก ๑๑ องค์ ทรงโปรดให้นำพระโกศแก้ว พระโกศเงิน มารองรับพระบรมธาตุ พระราชทานให้พระเจ้าพรหมมหาราชนำไปประดิษฐานไว้ที่ดอยน้อย หรือดอยจอมกิตติที่พระเจ้าสิงหนวัตนิ ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงค์โยนกได้เคยบรรจุพระบรมสารีริธาตุ ทั้ง

๑๑ไว้ด้วยกัน ในปี ๑๔๘๓ ในระยะต่อมาเจดีย์พระธาตุทรุดโทรมมากเจ้าฟ้าเฉลิมเมือง เจ้าเมืองเชียงแสน ได้ร่วมกับศรัทธาชาวเมืองบูรณะปฏิสังขรณ์ขึ้นอีกครั้งในปี ๒๒๓๗
การเดินทาง จากอำเภอเมืองใช้ทางหลวงหมายเลข ๑o๒o ผ่านอำเภอพญาเม็งรายใช้ทางหลวงหมายเลข ๑๑๗๔ ผ่านปากทางเข้าน้ำตกตากควัน บ้ายไชยพัฒนา เข้าเขตอำเภอเวียงเชียงรุ้ง ใช้ทางหลวงหมายเลข ๑o๙๘ ผ่านบ้านเนินสมบูรณ์ ปากทางแยกเข้าอำเภอเวียงชัย ปากทาง เข้ากิ่งอำเภอดอยหลวง ใช้ทางหลวงหมายเลข ๑๒๗๑ มุ่งตรงสู่อำเภอเชียงแสน ผ่านวัดพระธาตุผาเงา เข้าถนน บายพาส เข้าถนนเชียงราย – เชียงแสนไปอีก ๒ กิโลเมตร ถึงทางเข้าพระธาตุจอมกิตติ ฝั่งซ้ายมือรวมระยะทางทั้งสิ้น ๑๑๗ กิโลเมตร

ความเชื่อ ในการไหว้ พระธาตุดอยจอมกิตติเชื่อกันว่า ถ้าได้กราบไหว้และตั้งจิตอธิฐานท่านจะอุดมไปด้วยยศถาบรรดาศักดิ์ ลาภยศผู้คนสรรเสริญ เจ้าคนนายคน

คำบูชาพระธาตุจอมกิตติ
อะหัง วันทามิ ปะระมะสารีริกกะธาตุโย
กะกุสันธัสสะ จะโกนาคะ นะมัสสะจะ
กัสสะธัสสะ จะสะมะนะโกตะมัสสะ เจวะ
นิพานนะ ปัจจะโย โหตุ

วันอาทิตย์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2554

พระธาตุจอมสัก


พระธาตุจอมสัก
ที่ตั้ง วัดพระธาตุจอมสัก ตำบลบ้านดู่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย โทร. o- ๕๓๗o- ๓๑๙๖ มีพระอธิการอภิเดช เป็นเจ้าอาวาส

ประวัติพระธาตุ พระธาตุจอมสักเดิมชื่อ พระธาตุดอยบ้านยาง ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากแม่น้ำกกมากนัก สร้างขึ้นในสมัยโยนกไชยบุรีศรีเชียงแสน จนถึงสมัยพระเจ้าพังคราช กษัตริย์แห่งราชวงค์โยนก องค์ที่ ๒๔ ได้มีพระเถระองค์หนึ่งชาวโกศล เมืองสุธรรมาวดี นามพระพุทธโฆษาจารย์ ได้นำพระบรทสารีริกธาตุจากประเทศลังกามาถวายพระองค์จำนวน ๑๖ องค์ พระเจ้าพังคราชทรงโปรดให้แบ่งพระธาตุออกเป็น ๓ ส่วน ส่วนหนึ่งประดิษฐานอยู่บนพระธาตุดอยจอมทอง ส่วนที่สองประดิษฐานอยู่บนพระธาตุจอมกิติ และส่วนที่สามนำมาประดิษฐานที่พระธาตุดอยบ้านยาง ต่อมา ใน พ.ศ. ๒๔๙o พระครูบาคำหล้า สังวโร ได้เป็นประธานในการบูรณะพระธาตุองค์ใหม่ โดยสร้างครอบพระธาตุองค์เดิมไว้และได้สร้างวิหารเรือไว้สักยกใต้ถุนหลังหนึ่ง และได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นพระธาตุจอมสักจนถึงทุกวันนี้

การเดินทาง
จากอำเภอแม่จันใช้ถนนเชียงราย-แม่สาย (ทางหลวงหมายเลข ๑ ) ลงใต้สู่อำเภอเมือง ผ่านตลาดบ้านดู่ ปากทางเข้าท่าอากาศยานเชียงราย ห้างสรรพสินค้าแมคโคร พบยูเทริ์นแรกเลี้ยวขวา เข้าปากทางเข้าพระธาตุจอมสักพอดีเข้าไปอีกประมาณ ๔oo เมตร รวมระยะทางประมาณ ๒๕ กิโลเมตร

ความเชื่อ
ในการไหว้ พระธาตุดอยจอมสัก เชื่อกันว่าถ้าได้กราบไหว้ท่านจะได้รับสิริมงคลสูงสุดและพานพบแต่สิ่งดีๆ เข้ามาในชีวิตอย่างน่าอัศจรรย์

คำบูชาพระธาตุจอมสัก
อะระหัง วันทามิ ธาตุโย
สัพพะฐาเนสุ สุปะฏิ ปะทิตา
อะระหังวันทามิ สัพพะโส

วันอังคารที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2554

พระธาตุจอมจันทร์



พระธาตุจอมจันทร์

ที่ตั้ง วัดจอมจันทร์ ตำบลสันทราย อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย โทร. o- ๕๓๗๗-๒๑๒๙ มีพระมหายงยุทธเป็นเจ้าอาวาส
ประวัติพระธาตุ พระครูบาทิพย์ เจ้าอาวาสวัดบ้านแหลว เป็นผู้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๓ โดยเห็นนิมิตในคืนหนึ่ง เป็นแสงพุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้าสว่างไสวระยิบระยับสีเขียวบนดอยที่ตั้งขององค์พระ ธาตุ สักครู่ก็หายไป เช้าวันรุ่งขึ้นพระครูบาทิพย์จึงชวนสามเณรขึ้นไปสำรวจตรวจตราดูบนยอดดอยแห่ง นี้ เห็นว่าเป็นสถานที่ที่เหมาะสมแก่การสร้างพระธาตุเจดีย์เป็นอย่างยิ่ง เพราะว่าดอยแห่งนี้มีคูล้อมรอบ โดยการขุดของคนโบราณ ซึ่งไม่ติดกับดอยลูกใดเลยในบริเวณใกล้เคียงกัน จึงชักชวนญาติโยมสาธุชนทั้งหลายร่วมกันก่อสร้างเจดีย์ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๖๘ จึงได้ก่อสร้างกุฏิ วิหาร และศาลาตามลำดับ ตั้งเป็นวัดชื่อว่า วัดพระธาตุจอมจันทร์ มีภิกษุจำพรรษาติดต่อกันมาจนถึง พ.ศ. ๒๔๘o ได้เกิดไฟป่าลุกลามไหม้ศาลาและกุฏิจนหมด คงเหลือไว้แต่พระเจดีย์และวิหาร ศรัทธาชาวบ้านจึงได้ย้ายมาสร้างวัดอยู่ข้างล่าง อยู่ห่างจากวัดเดิม ๓oo เมตร วัดพระธาตุจอมจันทร์จึงได้กลายเป็นวัดร้าสงตั้งแต่นั้นมา จนถึงปี ๒๕๔๒ จึงได้มีการบุรณะขึ้นมาใหม่ โดยพระมหายงยุทธ เทวธัมโม พร้อมคณะศรัทธา
การเดินทาง ออกจากอำเภอเชียงแสนใช้ถนนสายเชียงราย-เชียงแสน (ทางหลวงหมายเลข ๑o๑๖) มุ่งสู่อำเภอแม่จัน ผ่านอำเภอจันจว้า ตำบลจอมสวรรค์ และตำบลสันทราย ถึงปากทางเข้าอำเภอจอมจันทร์ รวมระยะทางประมาณ ๓o กิโลเมตร

ความเชื่อ
ในการไหว้ พระธาตุจอมจันทร์ เชื่อกันว่าถ้าได้กราบไหว้และตั้งจิตอธิฐานผิวพรรณสวยงามเปล่งปลั่งรัศมีดุจ แสงจันทร์งดงามอย่างหาที่เปรียบไม่ได้

คำบูชาพระธาตุจอมจันทร์

อิทัง วันทามิ เจติยัง สักกัจจัง วะระสัญญิตัง
อะหัง วันทามิ ธาตุโย อิธะปัพะเต
ปะติฏฐิตา เอตนะ มะมะปุญญานุพาเวนะ
สะทาโสตถี ภะวันตุเต

วันพฤหัสบดีที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2554

พระธาตุจอมผ่อ


พระธาตุจอมผ่อ
ที่ตั้ง วัดอรัญญวิเวกคีรี (จอมผ่อ) บ้านดง-หล่ายหน้า หมู่ ๗ ตำบลเวียง อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย โทร. o-๕๓๗๘- ๑๓๖๓ มีพระครูปฏิภาณธรรมทิ เป็นเจ้าอาวาส
ประวัติพระธาตุ ตามหลักฐานเอกสารในทำเนียบการตั้งวัดของจังหวัดเชียงรายระบุว่าได้สร้างขึ้น เมื่อ พ.ศ. ๒๒๖๓ แต่ยังไม่พบหลักฐานใดอื่นอีก นอกจากหลักฐานทางโบราณวัตถุ เช่น เจดีย์ พระพุทธรูป กองหินกองอิฐที่สันนิษฐานได้ว่า ตรงนี้เคยเป็นโบสก์เป็นวิหารมาก่อนเท่านั้นจากคำบอกเล่าของคนรุ่นก่อนกล่าว ว่า ที่วัดม่อนจอมฝ่อนี้ เดิมมีพระพุทธรูปทองเหลืองทองแดงองค์เล็กองค์ใหญ่จำนวนมาก พิงอยู่ตามต้นไม้บ้าง วางอยู่บนกองอิฐกองดินบ้างไม่มีใครสนใจ เมื่อทางการได้เข้าไปสำรวจโบราณวัตถุ ประกอบกับทางวัดไม่มีผู้ดูแลแน่นอน จึงได้เก็บเอาพระพุทธรูปที่เป็นโลหะชนิดต่างๆไปรวบรวมไว้จนหมดไม่เหลือแม้ แต่องค์เดียว ในระหว่างการรื้อเจดีย์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒o ยังพบวัตถุมงคลอีกมากมายพร้อมแผ่นเงินจารึกประวัติศาสตร์การสร้างเจดีย์ที่ จานด้วยเหล็กจานเป็นภาษาล้านนา จึงได้มีการบูรณะเรื่อยมา จนเสร็จสิ้นสมบูรณ์ในวันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๔๖ และได้จัดให้มีประเพณีสงฆ์น้ำพระธาตุจอมฝ่อขึ้นทุกวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๔

การเดินทาง
จากตำบลจอมหมอกแก้วบนทางหลวงหมายเลข ๑๒๑๑ มาถึงทางแยกเข้าทางหลวงหมายเลข๑๑๘ (ถนนเชียงราย – เชียงใหม่) มุ่งตรงสู่อำเภอเวียงป่าเป้า ผ่านสวนทิพย์วนารีสอรท์ สำนักงานเทศบาลตำบลเวียงป่าเป้า โรงเรียนอนุบาลสันสลีและวัดศรีสุพรรณเข้าซอยฝั่งตรงข้ามวัดประมาร ๒ กิโลเมตร ถึงวัดอรัญวิเวกคีรีอันเป็นที่ตั้งของพระธาตุจอมฝ่อ รวมระยะการเดินทางทั้งสิ้น ๖๕ กิโลเมตร

ความเชื่อในการไหว้พระธาตุดอยจอมผ่อ ผ่อ เป็นภาษาเหนือ แปลว่า ดูหรือมอง เชื่อกันว่าถ้าได้กราบไหว้และตั้งจิตอธิฐานเปรียบเหมือนการลืมตาเจอแสงสว่าง ในชีวิต


คำบูชาพระธาตุจอมผ่อ
อิทัง วันทามิ เจติยัง สักกัจจัง
วะระสัญญิตัง เอเตนะ มะมะ
ปุญเญนะ สะทา โสตถี ภะวันตุเม

วันอังคารที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2554

พระธาตุจอมแจ้ง



พระธาตุจอมแจ้ง

ที่ตั้ง วัดพระธาตุจอมแจ้ง ตำบลแม่สรวย อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย โทร o- ๕๓๖๕-๖๒๙๗ มีพระครูอดุลสีหวัตรเป็นเจ้าอาวาส
ประวัติพระธาตุ วัดพระธาตุจอมแจ้งเป็นวัดเก่าแก่มาแต่โบราณ ตามตำนานกล่าว่า มีพระมหาเถระเจ้ารูปหนึ่งได้เดินทางจาริกเทศนาสั่งสอนพุทธศาสนิกชน เพื่อเป็นการประกาศพุทธศาสนามาจนถึงสถานที่แห่งนี้จนถึงรุ่งแจ้งสว่างพอดี เมื่อปี พ.ศ. ๒oo๑ จึงได้ขอวานตาแก่คนหนึ่งที่ปฏิบัติธรรม เฝ้ารักษาพระธาตุแห่งนี้ให้ไปตักน้ำที่แม่น้ำซ่วยขึ้นมาล้างหน้า และได้พักอยู่ที่นี่ ๗ วัน ก่อนที่จะเดินทางต่อไปได้มอบพระบรมสารีริกธาตุให้ตาแก่คนนั้นนำไปบรรจุลงใน พระธาตุจนเป็นที่สำเร็จลุล่วงแล้วจึงเดินทางจาริกต่อไป และยังได้ทำนายไว้ว่าสมัยต่อไปข้างหน้านี้ ชาวบ้านจะเรียกสถานที่แห่งนี้ว่า “พระธาตุจอมแจ้ง” ส่วนแม่น้ำซ่วยนั้น ชาวบ้านจะเรียกเปลี่ยนไปว่า “แม่น้ำสรวย” ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๘๒ หลวงพ่ออดุลสีหวัตต์ (สิงห์คำ) ได้มาดำรงตำแหน่งเจ้าคณะตำบลแม่สรวย และเป็นเจ้าอาวาสวัดพระธาตุจอมแจ้ง ได้เทศนาอบรมประชาชนให้มีความเชื่อถือเลื่อมใสในองค์พระธาตุแน่นแฟ้นขึ้นจน ประชาชนในเขตอำเภอแม่สรวยได้จัดงานบุญประเพณีทุกวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ แดละได้แนะนำชักชวนศรัทธาญาติโยมให้ช่วยกันบูรณปฏิสังขรณ์ สิ่งปลูกสร้างภายในวัดพิ่มขึ้นและยังเป็นที่ประดิษฐานของหลวงพ่อทองทิพย์ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ และเชื่อกันว่ามีความศักดิ์สิทธิ

การเดินทาง
จากเวียงป่าเป้า ย้อนกลับขึ้นไปทางเหนือทางหลวงหมายเลข ๑๑๘ (ถนนเชียงใหม่ – เชียงราย) สู่อำเภอแม่สรวย ผ่านปากทางเข้าโรงงานเชียงรายไวน์เนอร์รี่ ศาลสมเด็จพระนเรศวร, โรงพยาบาลแม่สรวย ข้ามสะพานแม่น้ำลาว ตีนสะพานมีซอยเลี้ยวซ้ายเข้าสู่พระธาตุจอมแจ้งอีก ๒oo เมตร รวมระยะทางทั้งสิ้น ๔o กิโลเมตร

ความเชื่อ
ในการไหว้ พระธาตุดอยจอมแจ้ง เชื่อกันว่า ถ้าได้กราบไหว้และตั้งจิตอธิฐานท่านจะประสบความสำเร็จและรู้แจ้งเห็นจริง
คำบูชาพระธาตุจอมแจ้ง
อิมัสมิง อะรุนุธคะมะเน
ประภัตตะเคทิตัง ธาตุ เจติยัง
อะหังวันทามิ สะระสา อะหังวันทามิ สัพพะทา

วันศุกร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

พระธาตุจอมทอง

พระธาตุจอมทอง

พระธาตุจอมทอง
ที่ตั้ง วัดดอยทอง หรือวัดพระธาตุดอยทอง ตำบลเวียง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย โทร o-๕๓๗๑ - ๖o๕๕ มีครูวินัยธรสุรัตน์เป็นเจ้าอาวาส

ประวัติพระธาตุ
พระธาตุจอมทองเป็นมงคลนามแห่งเมืองเชียงราย เดิมเป็นวัดเก่าแก่สันนิษฐานว่ามีมาก่อนที่พ่อขุนเม็งรายจะมาพบพื้นที่และ สร้างเป็นเมืองเชียงราย ในปี พ.ศ. ๑๘o๕ ตามหลักฐานปรากฏในหนังสือพงศวดารโยนกของพระยาประชากรจักรกล่าวว่า เมื่อพระพุทธศาสนาล่วงแล้ว ๙๕๖ พรรษามีพระเถระเจ้ารูปหนึ่งนามพระพุทะโฆษา เป็นชาวโกศลเมื่อสุธรรมวดี (สะเทิ้ม) ในสามัญประเทศได้ออกไปสู่เมืองลังกาทวีปนำคัมภีร์พระไตรปิฏก แห่งลังกาทวีปมาสู่สามัญทวีปและพุกามประเทศ และเข้ามาสู่โยนกนครไชยบุรีศรีเชียงแสน ในวันจันทร์ขึ้น ๘ ค่ำเดือน ๖ ปีชวด มหาศักราชได้ ๓๓๕ (พ.ศ. ๑๔๘๓) นำพระบรมสารีริกธาตุ ๓ ขนาดรวม ๑๖ องค์ ถวายแก่พระเจ้าพังคราช เจ้าเมืองโยนกนาคพันธ์ พระองค์ได้แบ่งได้แบ่งเป็นพระธาตุขนาดใหญ่หนึ่ง ขนาดกลางสองรวมสามองค์ส่งให้พญาเรือนแก้ว เจ้าเมืองไชยนารายณ์ (บริเวณอำเภอเวียงชัยในปัจจุบัน) ส่วนหนึ่งบรรจุลงมหาสถูปบนดอยทอง ขนานนามว่าพระธาตุดอยจอมทอง เพื่อเป็นมงคลนามของเมืองมีพิธีสงน้ำพระธาตุทุกวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ (เดือน ๕ เหนือ)

การเดินทาง
จากห้าแยกพ่อขุนเม็งรายมหาราช เข้าถนนอุตรกิจไปจนถึงสี่แยกพหลโยธิน (สายใน) เลี้ยวขวาผ่านหน้ากองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดเชียงราย และสถานีตำรวจภูธรจังหวัดเชียงราย เลี้ยวซ้ายเข้าถนนสิงหไคล ผ่านองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงรายและการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยสำนัก งานภาคเหยือเขต ๒ ตรงไปจนถึงปากทางเข้าศาลากลางจังหวัดเชียงราย เลี้ยวซ้ายเข้าถนนไตรรัตน์ ผ่านวัดพระแก้ว เลี้ยวขวาผ่านโรงเรียนเชียงรายวิทยาคม เลี้ยวขวาอีกครั้งหนึ่งขึ้นดอยทองผ่านวัดงำเมืองไปประมาร ๓๕o เมตร ก็จะถึงปากทางขึ้นพระธาตุดอยจอมทอง

ความเชื่อ
ในการไหว้พระธาตุดอยจอมทอง เชื่อกันว่า ถ้ากราบไหว้และตั้งจิตอธิฐานท่านจะมีทรัพย์สินเงินทอง
คำบูชาพระธาตุจอมทอง
วันทามิ เจติยัง สัมพัฏฐาเนสุ ปติฏฐิตา สรีระธาตุ มหาโพธิง พุทธะรูปัง สกลังสทา
นาคะโลเก เทวะโลเก ตาวะตังเส พรัมมะโลเก ชัมภูทีเป ลังกาทีเป
สรีระธาตุโย เกสาธาตุโย อรหันตาธาตุ โยเจติยัง คันธะกุฏิ จตุราสีติ
ติสะหัสสะ ธัมมักขันธา ปาทะเจติยัง นะระเทเวหิ อหังวันทามิ ธาตุโย อหังวันทามิ
ทูระโต อหังวันทามิ สัพพะโส

วันอาทิตย์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

พระธาตุจอมหมอกแก้ว


พระธาตุจอมหมอกแก้ว
ที่ตั้ง วัดจอมหมอกแก้ว บ้านดงมะเฟือง ตำบลจอมหมอกแก้ว อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย โทร. o- ๕๓๗๑ -๗๑๖๖ มีพระครูอรุณสวัสดิ์ มุนิวังโส เป็นเจ้าอาวาส

ประวัติพระธาตุ พระธาตุจอมหมอกแก้ว ถูกสร้างขึ้นมาในสมัยใดยังไม่มีปรากฏหลักฐาน แต่มีเรื่องเล่าว่า เมื่อ ๑oo กว่าปีที่แล้ว ชาวบ้าที่ตั้งถิ่นฐานอยู่แถบนั้นได้เข้าไปหาของป่า และได้พบจอมปลวกมีลักษณะคล้ายพระธาตุ ตั้งอยู่บนเนินเตี้ยๆลูกหนึ่ง และในบริเวณนั้นมีต้นไม้ที่ ชาวเหนือเรียกว่าต้นส้มป่อยอยู่มากมาย มีลักษณะโน้มเอียงเหมือนพญานาค และได้พบเครื่องปั้นดินเผาที่แตกกระจัดกระจายอยู่ทั่วบริเวณ ชาวบ้านจึงได้พากันกราบไหว้จอมปลวกนั้น ใครจะเข้าไปทำอะไรในป่าบริเวณนี้ต้องมาต้องมากราบไหว้บูชาขออนุญาตเสียก่อน ไม่เช่นนั้นก็จะมีอันเป็นไปต่างๆนานา ชาวบ้านแถบนั้นเชื่อว่าจอมปลวกนั้นเป็นที่บรรจุ อัฐิของเชื้อพระวงค์ในสมัยโบราณ สันนิษฐานว่าเจดีย์ถูกสร้างขึ้นมาครอบจอมปลวกภายหลัง
การเดินทาง จากแยกเด่นห้า มาตามถนนเด่นห้า – ดงมะดะ ผ่านปากทางไปวัดร่องขุ่นทางด้านตะวันออก ปากทางเข้าน้ำตกขุนกรณ์ทางด้านตะวันตก ผ่านศูนย์วิจัยเพาะเลี้ยงพันธุ์สัตว์ป่า บ้าหนองผักเฮือด ตลอดเส้นทางราว 24 กิโลเมตร ก็จะถึงพระธาตุจอมหมอกแก้ว

ความเชื่อ ในการไหว้พระธาตุดอยจอมหมอกแก้ว เชื่อกันว่า อุปสรรคที่เปรียบเหมือนหมอกควันสีดำถ้ากราบไหว้และตั้งจิตอธิฐานอุปสรรคทั้ง หลายก็จะจางใสเหมือนหมอกแก้วและประสบความสำเร็จ คำบูชาพระธาตุจอมหมอกแก้ว
อะหังวันทามิ อิธะ ปติฏฐิตา อะระหัตตะ ธาตุโย
ตัสสะ นุภาชนะ สะทา โสตถี ภะวันตุเม
ที่ตั้ง วัดจอมหมอกแก้ว บ้านดงมะเฟือง ตำบลจอมหมอกแก้ว อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย โทร. o- ๕๓๗๑ -๗๑๖๖ มีพระครูอรุณสวัสดิ์ มุนิวังโส เป็นเจ้าอาวาส

ประวัติพระธาตุ พระธาตุจอมหมอกแก้ว ถูกสร้างขึ้นมาในสมัยใดยังไม่มีปรากฏหลักฐาน แต่มีเรื่องเล่าว่า เมื่อ ๑oo กว่าปีที่แล้ว ชาวบ้าที่ตั้งถิ่นฐานอยู่แถบนั้นได้เข้าไปหาของป่า และได้พบจอมปลวกมีลักษณะคล้ายพระธาตุ ตั้งอยู่บนเนินเตี้ยๆลูกหนึ่ง และในบริเวณนั้นมีต้นไม้ที่ ชาวเหนือเรียกว่าต้นส้มป่อยอยู่มากมาย มีลักษณะโน้มเอียงเหมือนพญานาค และได้พบเครื่องปั้นดินเผาที่แตกกระจัดกระจายอยู่ทั่วบริเวณ ชาวบ้านจึงได้พากันกราบไหว้จอมปลวกนั้น ใครจะเข้าไปทำอะไรในป่าบริเวณนี้ต้องมาต้องมากราบไหว้บูชาขออนุญาตเสียก่อน ไม่เช่นนั้นก็จะมีอันเป็นไปต่างๆนานา ชาวบ้านแถบนั้นเชื่อว่าจอมปลวกนั้นเป็นที่บรรจุ อัฐิของเชื้อพระวงค์ในสมัยโบราณ สันนิษฐานว่าเจดีย์ถูกสร้างขึ้นมาครอบจอมปลวกภายหลัง
การเดินทาง จากแยกเด่นห้า มาตามถนนเด่นห้า – ดงมะดะ ผ่านปากทางไปวัดร่องขุ่นทางด้านตะวันออก ปากทางเข้าน้ำตกขุนกรณ์ทางด้านตะวันตก ผ่านศูนย์วิจัยเพาะเลี้ยงพันธุ์สัตว์ป่า บ้าหนองผักเฮือด ตลอดเส้นทางราว 24 กิโลเมตร ก็จะถึงพระธาตุจอมหมอกแก้ว

ความเชื่อ ในการไหว้พระธาตุดอยจอมหมอกแก้ว เชื่อกันว่า อุปสรรคที่เปรียบเหมือนหมอกควันสีดำถ้ากราบไหว้และตั้งจิตอธิฐานอุปสรรคทั้ง หลายก็จะจางใสเหมือนหมอกแก้วและประสบความสำเร็จ คำ

บูชาพระธาตุจอมหมอกแก้ว
อะหังวันทามิ อิธะ ปติฏฐิตา อะระหัตตะ ธาตุโย
ตัสสะ นุภาชนะ สะทา โสตถี ภะวันตุเม

วันพุธที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

พระธาตุจอมแว่


พระธาตุจอมแว่
ที่ตั้ง วัดพระธาตุจอมแว่ ตำบลเมืองพาน อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย โทร. o -๕๓๗๒- ๑๘๒๑ มีพระครูพิมล พิพัมนคุณเป็นเจ้าอาวาส

ประวัติพระธาตุ ตามตำนานได้กล่าวไว้ว่า พระธาตุจอมแว่ได้สร้างขึ้นโดยพญางำเมือง เจ้าเมืองภูกามยาว (พะเยา) ในราว จ.ศ. ๖๕๖ (พ.ศ. ๑๘๓๗) โดยที่พระองค์ได้เสด็จขึ้นดอยซางคำ (ชื่อเดิมของดอยจอมแว่) เพื่อตรวจดูอาณาเขตบ้านเมืองของพระองค์ว่ามีไพร่ฟ้าประชาราษฎร์ว่าอยู่ตรง ไหนบ้าง จากนั้นจึงเสด็จไปยังดอยอีกลูกหนึ่งซึ่งอยู่ตอนเหนือของลำน้ำแม่คาวด้วน และเสด็จเลียบต้นดอยด้วน (ดอยงาม) แล้วเสด็จไปยังเมืองภูกามยาว เมื่อพระองค์เสด็จถึงเมืองภูกามยาวใน เดือน ๔ ปีเดียวกัน จึงโปรดให้ขันฑเสนามาตย์ นำผู้ที่มีความรู้ในการก่อสร้างเจดีย์ พร้อมกับไพร่ฟ้าปลายแดน มาลงแรงช่วยกันสร้างพระธาตุจอมแว่ขึ้นที่ดอยซางคำ โดยได้ก่อทับรอยฟานเอาไว้ บรรจุพระเกศาธาตุ และแก้วแหวนเงินทองเอาไว้ สร้างเสร็จสมบูรณ์ในเดือน ๘ จึงได้มีพิธีการเฉลิมฉลองสมโภชพระเจดีย์เป็นเวลา ๓ วัน ๓ คืน ในสมัยเจ้าเมืององค์ต่อมา บ้านเมืองอยู่ในสภาวะไม่สงบสุขประชาชนจึงได้อพยพไปอยู่ที่อื่น ทำให้พระธาตุจอมแว่ทรุดโทรมปรักหักพังจากภัยธรรมชาติ จนในปี จ.ศ. ๑๑๙๙ (พ.ศ. ๒๓๘o ) พระยาหาญเจ้าเมืองพานคนแรกจึงได้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นมาใหม่จากซากเดิม จนในสมัยพญาไชยชนะสงคราม เจ้าเมืองพานคนที่ ๓ ได้ร่วมศรัทธา ๓ หมู่ ร่วมกันบูรณาพระธาตุขึ้นมาใหม่ให้ใหญ่กว่าเดิม แล้วบรรจุพระมหาชินธาตุเอาไว้มีประเพณีสรงน้ำพระธาตุในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ เหนือ

การเดินทาง
จากอำเภอแม่สรวยใช้ทางหลวงหมายเลข ๑๑๘ ย้อนกลับไปที่ทางแยกเชียงราย – แม่สรวย อำเภอแม่ลาวเลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข ๑ ถนน เชียงราย – พะเยา มุ่งสู่อำเภอพานข้ามสะพานข้ามแม่น้ำลาว ผ่านบ่อน้ำพุร้อนห้วยทรายขาว เข้าเขตอำเภอพาน เลี้ยวขวาเข้าถนนสายในตรงแยกวัดไชยมงคล เข้าไปประมาณ ๓oo เมตรจะพบทางเข้าพระธาตุจอมแว่ฝั่งขวามือ รวมรายการทั้งสิ้นประมาณ ๔๙ กิโลเมตร

ความเชื่อ
ในการไหว้ พระธาตุดอยจอมแว่
- ความหมายนัยยะที่ 1 แว่เป็นภาษาเหนือ แปลว่า แวะถ้าผู้ใดผ่านมาแวะกราบไหว้บูชาก็จะแคล้วคลาดปลอดภัยจากสิ่งเลวร้ายทั้ง ปวง
- ความหมายนัยยะที่ 2 แว่ เปรียบเหมือนเสียงเริ่มพูด เริ่มเจรจา ถ้าได้กราบไหว้และตั้งจิตอธิฐานการเจรจาธุรกิจจะประสบผลสำเร็จ

คำบูชาพระธาตุ
อะหัง วันทามิ มหาชินะ เกศา ธาตุโย
พุทธรูปัง โคตมัง อะหัง วันทามิ

วันพุธที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

งานดอกเสี้ยวบาน ณ ภูชี้ฟ้า

งานดอกเสี้ยวบาน ณ ภูชี้ฟ้า วันที่ 13 – 15 ก.พ. 54

สถานที่ : บ้านร่มฟ้าไทย ภูชี้ฟ้า ต.ตับเต่า อ.เทิง จ.เชียงราย




เป็นพันธ์ไม้ยืนต้น หรือว่า ชงโคป่า ขึ้นตามภูเขาเทือกเขาดอยผาหม่น ออกดอก ในช่วง เดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนมีนาคม สวยสฟรั่ง เป็นสัญลักษ์ แห่งความสวยงาม ทางสภาตำบลตับเต่า ในยุคนั้น เลยจัดงาน วันดอกเสี้ยวบานขึ้นใน ปี พ.ศ 2534 จนถึงปัจจุบัน งานดอกเสี้ยว จึงเป็นสัญลักษ์ ของตำบล และองการบริหารส่วนตำบล เห็นความสำคัญของงาน และมีกิจกรรมให้นักท่องเที่ยวได้ชม มากมาย งานนี้ ได้จัดงานขึ้นระหว่างวันที่ 13-15 กุมภาพันธ์ ของทุกปี ตรงกับเทศการวันวาเลนไทม์ ซึ่งกิจกรรมจะเน้นการอนุรักษ์และฟื้นฟู ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมของชนเผ่าต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ ตำบลตับเต่า อาทิ ชาวเขาเผ่าม้ง เผ่าอาข่า และเมี่ยน

กิจกรรม

- มีการแข่งขันกีฬา
- การแสดงศิลปวัฒนธรรมชาวดอย (การโล้ชิงช้าของชาวเขาเผ่าอาข่า) บริเวณบ้านร่มฟ้าไทย อำเภอเทิง
- การประกวดธิดาดอกเสี้ยว - โครงการจดทะเบียนสมรส 14 กุมภาพันธ์
- การสาธิตการปักผ้า ของชาวเขาเผ่าม้งที่มีความสวยงาม
- การเล่นกีฬาพื้นบ้าน
- การจัดประลองแรลลี่ภูเขา
- ฯลฯ



สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์บริการข้อมูลการท่องเที่ยว องค์การบริหารส่วนตำบลตับเต่า โทร. 01-6036100, 053-609494




ผลออกสลากกาชาดการกุศลจังหวัดเชียงราย 2554

การ หมุนวงล้อออกรางวัลสลากกาชาดการกุศลจังหวัดเชียงรายผู้ถูกรางวัลติดต่อขอรับ รางวัลได้ภายในวันที่ 19 มีนาคม 2554 ที่ทำการปกครองจังหวัดเชียงราย ศาลากลางจังหวัด


นางกมลวรรณ หทยะตันติ นายกเหล่ากาชาดจังหวัดเชียงราย กล่าวว่า ในงานพ่อขุนเม็งรายมหาราชและงานกาชาดจังหวัดเชียงราย ประจำปี 2554 ที่บริเวณฝูงบิน 416 สนามบินเก่า อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย เมื่อคืนวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2554 ที่ผ่านมาได้มีหมุนวงล้อออกสลากาชาดการกุศลโดยมีผลการออกสลากรางวัลได้แก่

รางวัลที่ 1 หมายเลข 19310

รางวัลที่ 2 หมายเลข 35272 ,85861,09531

รางวัลที่ 3 หมายเลข93254,21521,93296,71034,15654,96503,34991,35730,81489,76230

รางวัลที่ 4 หมายเลข 11213,13468,95720,76632,29822,7117,90385,70744,03500,95844,84546,80325, 02557,50336,66969,54681,58419,26535,64896,02819

รางวัลที่ 5 หมาย เลข4343,89489,71557,30706,10525,33175,90370,11692,86761,52238,88941,30185, 01409,77874,30133,16619,90123,76316,66951,1763192342,75569,31836,46855,52400,68577, 94130,09371,16732,09710,0795970899,03278,08259,43842,98594,51579,12077,90573,97660

รางวัลที่ 6 หมายเลข 95755,06740,17055,38092,38678,12030,88843,91693,23955,81491

และรางวัลเลขท้าย 3 ตัวหมายเลย 360 ผู้ที่ได้ถูกรางวัลให้ติดต่อขอรับรางวัลได้ ที่ทำการปกครองจังหวัดเชียงราย ฝ่ายการเงินและบัญชี ศาลากลางจังหวัดเชียงราย โทรศัพท์ 0-5374-4341,0-5315-0188 โดยรางวัลจะนำจ่ายแก่ผู้ถือฉลากฉบับที่ถูกรางวัล นำมาขอรับพร้อมบัตรประชาชนและสำเนาบัตรฯ ภายในวันที่ 19 มีนาคม 2554นี้

สำหรับรางวัลฉลากกาชาดการกุศลมีรางวัลที่ 1 รถยนต์กระบะโตโยต้า รุ่นวีโก้ มูลค่า 542,000 บาท จำนวน 1 รางวัล
รางวัลที่ 2 รถจักรยานยนต์ยามาฮ่า รุ่นฟีโน มูลค่ารางวัลละ 45,000 บาท รวม 3 รางวัล
รางวัลที่ 3 สร้อยคอทองคำ หนัก 2 บาท จำนวน 10 รางวัล
รางวัลที่ 4 สร้อยคอทองคำหนัก 1 บาท จำนวน 20 รางวัล
รางวัลที่ 5 สร้อยคอทองคำหนัก 2 สลึง จำนวน 40 รางวัล
รางวัลที่ 6 ตู้เย็น 5 คิว จำนวน 10 รางวัล
และรางวัลเลขท้าย 3 ตัว รางวัลมูลค่า 1,000 บาท จำนวน 100 รางวัล
 
แหล่งข่าว : สวท.เชียงราย

วันอังคารที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

พระธาตุจอมจ้อ

พระธาตุจอมจ้อ
ข้อมูลติดต่อ
วัดพระธาตุจอมจ้อ ตำบลเวียง อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย
โทร / แฟ็กซ์ 053666449
พระธาตุจอมจ้อ ที่ตั้ง วัดพระธาตุจอมจ้อ ตำบลเวียง อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย โทร. o- ๕๓๖๖- ๖๔๔๙ มีพระมหาชูศักดิ์เป็นเจ้าอาวาส ประวัติพระธาตุ พระธาตุจอมจ้อเป็นพระธาตุศักดิ์สิทธิที่อยู่คู่เมืองเทิงมาตั้งแต่สมัยโบราณ กาล ประวัติพระธาตุจอมจ้อจากคัมภีร์เก่าแก่ที่ตั้งโดยนักปราชญ์ผู้ชำนาญในด้าน ภาษาบาลีของอำเภอเมืองเทิง (เมืองเถิง) ในสมัยนั้นได้กล่าวว่า ในกาลสมัยเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จมาสุวรรณภูมิ พระองค์ได้พักอยู่ใต้ต้นอโศกบนดอยใกล้แม่น้ำอิง

 มี พญานาคตนหนึ่ง รู้ว่าพระพุทธองค์เสด็จมาจึงเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ทูลถามความต่างๆแล้วจึงนำจ้อคำ ๓ ผืนแล้วจ้อแก้วอีก ๓ ผืน มาถวายพระพุทธองค์ พระอานนท์จึงขอทูลพระธาตุให้พระยานาคตนนั้น พระพุทธองค์จึงนำพระหัตถ์ลูบพระเศียรได้พระเกศาธาตุเส้นหนึ่ง จึงโปรดให้พญานาคไว้พญานาคจึงนำความแจ้งให้เจ้าเมืองสร้างพระธาตุไว้ที่กลาง ดอยเพื่อบรรจุพระเกศาธาตุ ต่อมาจึงมีการขนานนามพระธาตุนั้นว่า พระธาตุจอมจ้อ ทุกปีจะมีพิธีสรงน้ำพระธาตุจอมจ้อ ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ เหนือ



การเดินทาง ออกจากอำเภอพานใช้ทางหลวงหมายเลข ๑ ไปทางใต้แยกพาน – ป่าแดด เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข ๑๑๘๑ ผ่านสันมะเค็ด ป่าแงะ ถ้าผาจรุย จนถึงสามแยกเชียงเคี่ยน เลี้ยวขวาเข้าถนนศรีเชียงราย – เทิง ผ่านยศรีดอนชัย ปล้อง เข้าสู่อำเภอเมืองผ่านสถานีตำรวจภูธรอำเภอเทิง โรงพยาบาลเทิง และวัดพระศรีมหาโพธิ์ ข้ามสะพานแม่น้ำอิงอีก ๒๕o เมตร จะถึงปากทางเข้าพระธาตุจอมจ้อ ต้องขับรถขึ้นดอยอีกประมาณ ๓oo เมตร รวมราการเดินทางทั้งสิ้น ๖๕ กิโลเมตร
ความเชื่อ ในการไหว้ พระธาตุดอยจอมจ้อ จ้อ หมายถึง พูดดี พูดเก่ง ถ้าได้กราบไหว้ก็จะประสบความสำเร็จทุกสิ่งเหมือนกับการเริ่มเจรจาก็นำมาซึ่ง ความสำเร็จและสมประสงค์ทุกประการ



คำบูชาพระธาตุจอมจ้อ
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (3 จบ)
อะหัง วันทามิ ธาตุโย เกสาธาตุ มานะธาตุ
อิมัสสะหมิง ปติฏฏัง อุตะระ ปัพพัตตัง อะหัง วันทามิสิระสา (กล่าว 3 จบ)

วันเสาร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ตำนานบูชาพระธาตุเก้าจอม


ตำนานบูชาพระธาตุเก้าจอม
พระธาตุเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของชาวพุทธ ที่เป็นสถานที่เก็บพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อันเปรียบเสมือนเป็นองค์แทนพระองค์ไว้ให้พุทธศาสนิกชนได้กราบไหว้บูชา ระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงบำเพ็ญเพียรเผยแพร่หลักธรรมแห่งพุทธศาสนา เพื่อการหลุดพ้นจากบ่วงกรรมความทุกข์ทั้งปวง อันจะนำพาความเป็นสิริมงคลมาสู่ชีวิตของผู้ที่เคารพและศรัทธา
ตามคติความเชื่อของชาวล้านนามาตั้งแต่โบราณกาล เชื่อกันว่าการได้ทำบุญวัดประจำปีเกิด หรือการได้ไปทำบุญวัดที่เป็นมงคลนามทั้งเก้า รวมถึงการได้ไปนมัสการสักการะพระธาตุเก้าจอม จะทำให้เกิดความเป็นสิริมงคล “อยู่เย็นเป็นสุข” หรือ ตามคติล้านนาว่า “อยู่ดีกินหวาน” ประสบความสำเร็จทั้งการงาน การเงิน การดำเนินชีวิตได้สมดังปรารถนา

พระธาตุ ถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มีอัศจรรย์ปาฏิหาริย์มาก จากคำบอกเล่าของบรรพชนมักได้ยินได้ฟังอยู่เสมอว่า ทุกวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ ของบางเดือน จะเกิดปรากฏการณ์พิเศษเกิดขึ้นอยู่เสมอๆ เช่น การปรากฏลำแสงพวยพุ่ง สุขสว่างสดใสเป็นรัศมีสีแดง สีเหลือง สีขาว ขึ้นรอบองค์พระธาตุ หรือ พาดผ่านขึ้นสู่ท้องฟ้าบ้าง หรือการปรากฏความร่มเย็นเป็นสุขมีฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาลที่แห้งแล้วบ้าง หรือปรากฏกลิ่นหอมโรยรื่นอบอวลชวนให้จิตใจสดชื่นแจ่มใสบ้าง ซึ่งปรากฏการณ์เหล่านี้สำแดงออกมาโดยอัศจรรย์ด้วยพุทธานุภาพเป็นที่เลื่อมใส ศรัทธาแก่ผองชนที่เคารพเลื่อมใสเป็นอันมาก
พระธาตุเก้าจอม เป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในส่วนต่างๆ ของพระวรกายโดยแท้ มีประวัติตำนานกล่าวขานที่เป็นพุทธมงคลรวมทั้งนามที่ตั้งก็เป็นมงคลนาม ผู้ที่ได้สักการะพระธาตุครบทั้งเก้าจอมจะถือว่าน้อมรับมงคลอันยิ่งใหญ่และ สิ่งงดงามมาสู่ชีวิตของตนเองและบริวาร

วันศุกร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2554

พระเจ้าสองสี

ข้อมูลติดต่อ
องค์การบริหารส่วนตำบลหงาว ต.หงาว อ.เทิง จ.เชียงราย
โทร / แฟ็กซ์ 053-696333 (อบต.หงาว)
โฮมเพจ / เว็บไซต์ : http://www.sao-ngao.com
พระเจ้าสองสี ตั้งอยู่ ตำบลหงาว อำเภอเทิง จังหวังเชียงราย ห่างจากแยกบ้านปี้ ทางขึ้นภูชี้ฟ้าเพียง 1 กิโลเมตร หงาว เป็นนตำบลเล็กๆ


ที่มีเรื่องราวทางประวัติศาสตร์และการพัฒนาท่องถิ่น ที่น่าสนใจ จนทำให้ทีมงานของเราอยากนำมาบอกเล่าให้นักท่องเที่ยวและชาวเชียงรายที่มี โอกาสเดินทางผ่านไปสัมผัสภูชี้ฟ้า เสียเวลาเพียงเล็กน้อยเข้ามาศึกษาวิถีชีวิตของผู้คน และ นมัสการพระศักดิ์สิทธิ์ของตำบลหงาว เหมือนกับคำที่ว่าก่อนทำการใดๆ ให้ไปไหว้พระ เพื่อเป็นสิริมงคล จะทำการใดก็สำเร็จลุล่วงไปด้วยดีหรือหากมีเวลามากหน่อยจะแวะพักเพื่อหา ข้อมูลของภูชี้ฟ้าก่อนที่จะขึ้นไปสัมผัสความงามของธรมชาติข้างบนก่อนคงดี เพราะที่หงาวเองก็มีจุดแวะพักนักท่องเที่ยวท่านสามารถหาข้อมูลการเดินทางไม่ ว่าจะเป็นสถานที่พัก ราคาห้องพัก อาหารและอื่นๆ พร้อมกันนั้น ศูนย์ otop ของตำบล หงาว ให้ท่านซื้อหาของใช้ของฝาก ที่เกิดจากภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นการสนับสนุนชาวบ้าน เพื่อให้เขามีรายได้เป็นอีกแบบหนึ่งของารพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป 

งานพ่อขุนเม็งราย54

จังหวัดเชียงรายจัดงานฤดูหนาวงานพ่อขุนเม็งรายมหาราชและงานกาชาดประจำปี 2554 



จังหวัด เชียงราย ร่วมกับส่วนราชการส่วนภูมิภาคและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดงานฤดูหนาวงานพ่อขุนเม็งรายมหาราชและงานกาชาดประจำปี 2554 ระหว่างวันที่ 26 มกราคม ถึง 4 กุมภาพันธ์ 2554 ณ สนามบินเก่า

นายสมชัย หทยะตันติ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เปิดเผยว่า ตลอดปีที่ผ่านมาประชาชนชาวจังหวัดเชียงรายต่างตรากตรำทำงานประกอบสัมมาชีพ ด้วยความขยันและอดทน เพื่อให้ประชาชน เกษตรกร พ่อค้า นักธุรกิจ ได้ผ่อนคลายจากการทำงาน จังหวัดเชียงรายได้กำหนดจัดงานฤดูหนาว งานพ่อขุนเม็งรายมหาราช และงานกาชาดประจำปี 2554 รวม 10 คืน เริ่มงานคืนวันที่ 26 มกราคม 2554 ถึง วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2554

วันที่ 26 มกราคม 2554
เวลา 08.39 น. พิธีสักการะพระสถูปพระบรมอัฐิ พ่อขุนเม็งรายมหาราช ณ วัดดอยงำเมือง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย
เวลา 08.39น. พิธีบวงสรวงอนุสาวรีย์ พ่อขุนเม็งรายมหาราช ณ บริเวณลานหน้าอนุสาวรีย์ พ่อขุนเม็งรายมหาราช ห้าแยกพ่อเม็งราย ฯ
เวลา 14.00น. ขบวนแห่เครื่องราชสักการะ จาก 18 อำเภอพร้อมกัน ณ ที่ตั้งโรงเรียน สามัคคีวิทยาคม ถนนบรรพปราการ
เวลา 15.00น. ขบวนแห่เครื่องราชสักการะเคลื่อนออกจากที่ตั้งไปยัง สนามบินเก่า เส้นทางถนนสนามบิน ผ่านหน้าโรงเรียนพาณิชยการเชียงราย วิทยาลัย เทคนิคเชียงราย และโรงพยาบาลศูนย์เชียงราย เข้าสู่บริเวณงาน
เวลา 17.30น. พิธีไหว้สาพญาเม็งราย และพิธีเปิดงาน โดยผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย



ในการจัดงานฤดูหนาวงานพ่อขุนเม็งรายมหาราชและงานกาชาดประจำปี 2554 จังหวัดเชียงราย กำหนดให้มีการออกร้านมัฉฉากาชาด เพื่อประชาชนได้ร่วมลุ้นโชคเป็นประจำทุกคืนด้วยของรางวัลประกอบด้วย
- รถจักรยานยนต์
- รถจักยาน
- ตู้เย็น
- พัดลม
- และสิ่งของอื่น ๆ อีกมากมาย

ในส่วนของการออกฉลากกาชาด ปีนี้จังหวัดได้จัดหารางวัลใหญ่ ประกอบด้วย
- รถยนต์ปิคอัพ โตโยต้า
- รถจักรยานยนต์
- และสิ่งของอื่นอีกจำนวนมาก

ประชาชนที่ประสงค์จะร่วมลุ้น โชคกับกาชาดจังหวัดเชียงราย ซื้อสลากกาชาดได้ที่ ห้องเสมียนตราจังหวัดเชียงราย ศาลกลางจังหวัดเชียงราย 750 ปี หมายเลขโทรศัพท์ 053-150189 ทุกวันทำการ หรือสามารถซื้อได้ร้านกาชาดภายในงานฤดูหนาวงานพ่อขุนเม็งรายมหาราชและงาน กาชาดประจำปี 2554 
 จังหวัด เชียงราย ร่วมสร้างความสุขกับประชาชนชาวจังหวัดเชียงราย ด้วยการนำศิลปินวงวัยรุ่นชื่อดัง จากกรุงเทพมหานครร่วมสร้างสีสันบนเวทีกลางงานฤดูหนาวงานพ่อเม็งรายมหาราชและ งานกาชาด ประจำปี 2554

รายงานจากฝ่ายประชาสัมพันธ์งานฤดูหนาวงานพ่อขุนเม็งรายมหาราชและงานกาชาด ประจำปี 2554 ซึ่งกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 26 มกราคม 2554 ถึงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2554 จังหวัดเชียงรายได้ เชิญศิลปินจากวงต่าง ๆ มาร่วมสร้างสีสันในงานดังนี้

คืนแรกวันที่ 26 มกราคม 2554 เปิดรายการด้วยวงโซคูล

คืนที่สองวันที่ 27 มกราคม 2554 เป็นการแสดงของวงซุปเปอร์วาเลนไทม์

คืนที่สามวันที่ 28 มกราคม 2554 เป็นการแสดงของศิลปินจากวง ลาบานูน

คืนที่สี่วันที่ 29 มกราคม 2554 เป็นการแสดงของวง เสกโลโซ

คืนที่ห้าวันที่ 30 มกราคม 2554 เป็นการแสดงของวง มาลีฮวนน่า

คืนที่หกวันที่ 31 มกราคม 2554 พบกับศิลปินจากวง 25 Hours

คืนที่เจ็ดวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2554 เป็นการแสดงของวง EBOLA

คืนที่แปดวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2554 เป็นการแสดงจากวงแพนเค็ก

คืนรองสุดท้ายคืนที่เก้าของการจัดงานวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2554 เป็นการแสดงจากศิลปินจากวงแคลช

ปิดท้ายรายการคืนสุดท้ายวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2554 เป็นการแสดงจากวง BigAss


จังหวัดเชียงราย ขอเชิญชวนประชาชน ที่สนใจจะร่วมสนุกกับศิลปินจาก 10 วง สามารถพบได้ที่งานฤดูหนาว งานพ่อขุนเม็งรายมหาราชและงานกาชาดประปี 2554 ณ สถานที่จัดงานสนามบินเก่า ฝูงบิน 416


แหล่งข่าว : สวท.เชียงราย

ประมวมภาพเชียงรายดอกไม้งาม ครั้งที่ 7










เชียงรายดอกไม้งาม ครั้งที่ 7


องค์การ บริหารส่วนจังหวัดเชียงราย ร่วมกับ กองประกวดนางสาวถิ่นไทยงาม จัดงานเทศกาลเชียงรายดอกไม้งาม ระหว่างวันที่ 25 ธันวาคม 2553 – วันที่ 3 มกราคม 2554 บริเวณสวนไม้งามริมกก อ.เมือง จ.เชียงราย




นางรัตนา จงสุทธนามณี นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย กล่าวว่า เชียงรายเป็นจังหวัดเหนือสุดของประเทศที่ภูมิประเทศและภูมิอากาศที่เอื้อ อำนวยต่อการทำการปลูกดอกไม้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูหนาว ซึ่งอากาศเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของไม้ดอก ไม้ประดับที่มีความสวยงามแปลกตา ทั้งสีสันและชนิดพันธุ์ที่แตกต่างจากพื้นที่อื่นๆ จึงทำให้จังหวัดเชียงรายได้รับการยอมรับว่าเป็นเมืองแห่งดอกไม้งามมาโดยตลอด การจัดงานเทศกาลเชียงรายดอกไม้งามครั้งที่ 7 จัดขึ้นเพื่อให้งานนี้เป็นงานที่สำคัญงานหนึ่งของจังหวัดเชียงรายและเพื่อ เป็นการยกระดับการจัดงานให้ทัดเทียมกับการจัดงานในระดับประเทศ เพื่อเตรียมการจัดกิจกรรมร่วมเฉลิมฉลองสมโภชเมืองเชียงราย 750 ปี ในปี 2555นี้ โดยในงานจัดอุทยานไม้ดอกเมืองหนาว ด้วยดอกทิวลิป ดอกลิลลี่หลากหลายสี ในข่วงอุทยานกล้วยไม้ ข่วงวัฒนธรรมล้านนา และชนเผ่า จัดการประกวดนางสาวถิ่นไทยงามเนื่องในวาระครบรอบ 60 ปี การจำหน่ายสินค้าท้องถิ่น

สำหรับพิธีเปิดงานในวันเสาร์ที่ 25 ธันวาคม 2553 จัดให้มีขบวนแห่รถบุปผาชาติ พร้อมสาวงามเข้าประกวดนางสาวถิ่นไทยงาม และพิธีเปิดงานอย่างตื่นตาตื่นใจ ด้วยความยิ่งใหญ่อลังการ

การจัดงานเทศกาลเชียงรายดอกไม้งาม ครั้งที่ 7 ประจำปี 2554 จัดขึ้นระหว่าง วันที่ 25 ธันวาคม 2553 – 3 มกราคม 2554 รวมการจัดงาน 10 วัน ณ บริเวณสวนไม้งามริมน้ำกก เชิงสะพานเฉลิมพระเกียรติ 1 อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย

-----------------------------------
ประวัติการจัดงานเทศกาลเชียงรายดอกไม้งาม
องค์การ บริหารส่วนจังหวัดเชียงรายจึงได้จัดงานเทศกาลเชียงรายดอกไม้งามเป็นประจำทุก ปีต่อเนื่องเรื่อยมา   ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 ซึ่งการจัดงาน ครั้งที่1-2 จัดที่สวนสาธารณะฉลองศิริราชสมบัติ(สนาม ร.ด.) และครั้งที่ 3-5 จัดที่สวนสาธารณะหาดเชียงราย ในการจัดงานครั้งที่ 6 ได้เปลี่ยนสถานที่การจัดงาน ณ สวนไม้งามริมน้ำกก (เชิงสะพานแม่ฟ้าหลวง) ซึ่งในการจัดงานทุกปีได้มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศให้ความ สนใจมาเที่ยวชมงานอย่างล้นหลาม
กิจกรรมต่างๆในงานเทศกาลเชียงรายดอกไม้งาม 
1. ขบวนรถบุปผชาติ
2. สวนเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
3. อุทยานไม้ดอกเมืองหนาว ทิวลิป  ลิลลี่ ฯลฯ
4. อุทยานกล้วยไม้นานาพันธุ์, การประกวดกล้วยไม้
5. ประกวดสวนไม้ดอกไม้ประดับ
6. จำลองวิถีชีวิตกลุ่มชนชาติพันธุ์ในจังหวัดเชียงราย (ข่วงวัฒนธรรมล้านนาและชนเผ่า)  การสาธิตอาชีพเก่าแก่ดั้งเดิมของคนในท้องถิ่น (ผามภูมิปัญญาล้านนา สล่าเชียงราย)
7. การประกวดทำบายศรี 5 ชั้น
8. การประกวดจัดสวนโต๊ะและจัดแจกันดอกไม้
9. การประกวดวาดภาพและภาพถ่ายดอกไม้ในงาน
10. การจำหน่ายสินค้าท้องถิ่น
11. การจัดนิทรรศการเผยแพร่ความรู้ไม้ดอกเมืองหนาว
12. การประกวดนางสาวถิ่นไทยงาม



** การเดินทางไปสถานที่จัดงานเทศกาลเชียงรายดอกไม้งาม **
เส้นทางที่ 1 เดินทางออกจากเมืองเชียงรายเลี้ยวขวา จากห้าแยกพ่อขุน ไปตามถนนพ่อขุน-สนามกีฬา ระยะทาง 1.5 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายไปตามถนนเวียงบูรพา ระยะทาง 1 กิโลเมตร ข้ามสะพานแม่น้ำกก งานเทศกาลเชียงรายดอกไม้งามจะอยู่บริเวณขวามือ
เส้นทางที่ 2 เดิน ทางมาตามถนนพหลโยธิน เลี้ยวเข้าถนนศูนย์ราชการ(ทางเข้าวัดฝั่งหมิ่น) ระยะทาง 1 กิโลเมตร เลี้ยวขวาจากสี่แยกศูนย์ราชการ งานเทศกาลเชียงรายดอกไม้งามจะอยู่เชิงสะพานแม่ฟ้าหลวง
เส้นทางที่ 3 เดิน ทางจากทางเข้าท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวงเชียงราย เลี้ยวซ้ายหน้าที่ทำการท่าอากาศยานฯ ระยะทาง 5 กิโลเมตร ผ่านสี่แยกศูนย์ราชการ งานเทศกาลเชียงรายดอกไม้งามจะอยู่เชิงสะพานแม่ฟ้าหลวง



แหล่งข่าว : สวท.เชียงราย