วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
เรื่องราวจากอดีต"พื้นที่สีแดง ผกค." ภูชี้ฟ้า - ผาตั้ง
ยุทธภูมิ ดอยยาว - ดอยผาหม่น
ในพื้นที่ชายแดนไทย – ลาว ตั้งแต่อำเภอเชียงแสน อำเภอเชียงของ อำเภอเวียงแก่น อำเภอขุนตาล อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย และ อำเภอเชียงคำ อำเภอภูซาง อำเภอปง อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา ในอดีตเคยมีการสู้รบอย่างรุนแรง ระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐ กับกลุ่มผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ที่ต้องการเปลี่ยนแปลงจากการปกครองจาก ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ให้เป็นระบอบคอมมิวนิสต์ ทั่วทั้งพื้นที่ปฏิบัติการเคยเป็นพื้นที่ ที่มีสถานการณ์การสู้รบ ระหว่างผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์กับฝ่ายรัฐ สถานการณ์ การต่อสู้ได้ยุติลงเมื่อ ปี ๒๕๒๕ นับว่าไม่นานเลย บุคคลที่เคยมีส่วนร่วมในเหตุการณ์ยังคงอยู่ทั้ง สองฝ่าย ดังนั้นบุคคลทั่วไปจึงควรที่จะได้รับรู้เหตุการณ์ในอดีตเพื่อจะได้เป็นข้อ เตือนใจ ของคนไทยต่อไป
วีรกรรมดอยยาว-ดอยผาหม่น เป็นอีก บทเรียนหนึ่ง ที่ยืนยันถึงบทบาทของกองทัพในการเป็นผู้พิทักษ์ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ขณะ ที่ฝ่ายผู้ก่อการร้ายที่ต้องการล้มล้างอำนาจรัฐเพื่อเปลี่ยนแปลง ระบอบการปกครองเป็นระบอบคอมมิวนิสต์ ด้วยการปฏิบัติการสงครามประชาชน ถูกกดดันด้วยการปฏิบัติการทางทหารอย่างรุนแรง ผสมผสานด้วยการดำเนินนโยบายทางด้านการเมือง เปิดโอกาสให้วางอาวุธ และมาต่อสู้ทางการเมืองในรัฐสภา ด้วยคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๖๖/๒๓ กองทัพได้ถูกจำกัดบทบาทอยู่นอกวง ของการต่อสู้ทางการเมืองด้วย วลีที่ว่าทหารต้องไม่ยุ่งกับการเมือง แต่โดยแท้จริงแล้วตามหลักการสงครามยืดเยื้อของ เหมา เจ๋อตุง ถือว่า สงครามคือการต่อเนื่องของการเมือง สงครามก็คือการเมืองและตัวสงครามเองก็คือการปฏิบัติการที่มีลักษณะการเมือง ตั้งแต่โบราณกาลเป็นต้นมา ไม่มีสงครามใดๆเลยที่ไม่มีลักษณะการเมืองติดอยู่ เมื่ออุปสรรคถูกขจัดไป ความ มุ่งหมายทางการเมืองบรรลุผล สงครามก็ยุติ ถ้าอุปสรรคยังขจัดไม่หมดสิ้น สงครามก็จะต้องดำเนินต่อไปเพื่อบรรลุผลให้ตลอด ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า การ เมืองคือสงครามที่ไม่หลั่งเลือด และสงครามคือการเมืองที่หลั่งเลือด ในสถานการณ์ สงครามประชาชน บทบาท ลีลาของการปฏิบัติการทางทหารควรจะเป็นอย่างไร นับเป็นปัญหาที่ต้องมีการพัฒนาคำตอบอยู่ตลอดเวลา
สถานการณ์การต่อสู้ในขณะนั้นสรุปได้ดังนี้
พคท.ได้แบ่งพื้นที่ในการปฏิบัติงานเป็น ๕ เขตงาน คือ
๑.เขตงาน ๕๒ ครอบคลุมพื้นที่ ดอยหลวง เขตติดต่ออ.เชียงของ,อ.เทิง,อ.เวียงชัย,อ.แม่จันและ อ.เชียงแสน
มีกำลังติดอาวุธประมาณ ๑๐๐ คน ลักษณะการปฏิบัติ เป็นการโฆษณาชวนเชื่อ หาสมาชิกกับราษฎรชาวเขา มีการปฏิบัติต่อเจ้าหน้าที่อย่างรุนแรงเมื่อมีโอกาส บริเวณที่เคลื่อนไหวได้แก่ บ.เย้าขุนแม่เปา( P.C. ๑๗๐๔),เย้าขุนแม่คำ( P.C.๓๖๔๒) บ.เย้าดอยหลวง( P.C.๓๙๔๖)ดอยขุนต๋ำ( P.C.๑๖๑๐)
๒.เขตงาน ๘ ครอบคลุมพื้นที่ดอยยาว ดอยผาหม่น อยู่ในเขต อ.เชียงของและอ.เทิง
มีกำลังติดอาวุธประมาณ ๖๐๐ คน มวลชนส่วนใหญ่เป็นชาวเขาเผ่าม้งให้การสนับสนุน ผกค.ประมาณ ๒๓๐๐ คน ลักษณะ การปฏิบัติ คือขัดขวางการปฏิบัติงานของ เจ้าหน้าที่ในการสร้างเส้นทาง และการพัฒนาพื้นที่เพื่อความมั่นคง มีการขยายงานมวชนลงสู่พื้นราบโดยเฉพาะเขตรอยต่อ อ.พาน กับ อ.แม่สรวย บริเวณ ที่เคลื่อนไหวได้แก่ ห้วยจะยิน(๔๔๙๘)(บก.เขตงาน ๘),ดอยสันป่าก่อ(๓๓๔๙๑๓),ขุนห้วยป่าตาล(๓๖๙๓),ขุนห้วยโป่ง(๓๗๘๘),บ.เล่าอู (๔๘๙๘๘๔),บ.เซ่งเม้ง(๔๗๙๙๓๘),บ.เล่าเจอ(๕๐๙๙๐๙),ดอยม่อนซัวยิ่ง(๕๐๙๘),ดอย ม่อนเคอ(๔๖๐๑),บ.ห้วยส้าน(๔๖๗๖),หมู่บ้านจัดตั้งได้แก่บ.ธงแดง(๔๓๐๑),บ.ธงรบ (๓๗๙๓)บ.ห้วยคุ(๕๔๐๓),บ.ห้วยหาน(๕๕๐๑)บ.ห้วยเหี๊ยะ(๕๓๙๗)
๓.เขตงาน ๙ ครอบคลุมพื้นที่ ดอยน้ำสา ดอยภูลังกา อยู่ในเขต อ.เชียงคำ และอ.ปง จว.พะเยา
มีกำลังติดอาวุธ ประมาณ ๔๐๐ คน มีมวลชนในพื้นที่ให้การสนับสนุน ประมาณ ๑๒๐๐ คน ฐาน ที่มั่นได้แก่ ดอยน้ำสา (๕๕๖๒),บ.แม้วหม้อ(๕๒๔๔),บ.ขุนน้ำลาว(๖๐๔๘)และบ.ขุนน้ำยาว(๖๙๖๑)ซึ่งอย่ใน เขตรอยต่อ ของอ.ปงกับ อ.ท่าวังผา จว.น่าน มวลชน ที่ให้การสนับสนุนได้แก่ บ.น้ำสา,บ.ป่ากล้วย,บ.ห้วยแฝก,บ.น้ำโต้ม,บ.แม้วหม้อ,บ.เย้าผาแดง,บ.เย้าหนอง ห้า,บ.เย้าต้นผึ้ง,บ.ใหม่ปางค่า,บ.ปางมะโอ
๔.เขตงาน ๗ ครอบคลุมพื้นที่ ดอยผาจิและลำน้ำสาว อยู่ในเขตรอยต่อของอ.ปง,อ.เชียงม่วน จว.พะเยา และกิ่งอ.บ้านหลวง,อ.ท่าวังผา จว.น่าน
มีกำลังติดอาวุธประมาณ ๕๐๐ คน มีมวลชนในพื้นที่ให้การสนับสนุนประมาณ ๒๐๐๐ คน ความเคลื่อนไหวที่สำคัญได้แก่ ขัดขวางการส่งกำลังของเจ้าหน้าที่ในการเข้าโจมตีฐานที่มั่น ดอยผาจิ - ผาช้างน้อย และขยายงานมวลชนลงสู่พื้นราบจากดอยผาจิเข้าสู่ อ.เชียงม่วน,อ.ปง จว.พะเยา และ อ.สอง จว.แพร่ รวมทั้งส่งสมาชิกชั้นนำไปเผยแพร่และชี้นำในเขตงานใหม่ จว.แม่ฮ่องสอน - จว.เชียงใหม่,จว.ลำพูนและจว.ลำปาง
๕.เขตงาน ๘/๑ ครอบคลุมพื้นที่ อ.พาน - อ.แม่สรวย จว.เชียงราย และอ.วังเหนือ จว.ลำปาง
มีกำลังติดอาวุธประมาณ ๑๒๐ คน การ ปฏิบัติที่สำคัญ ได้แก่การขยายงานมวลชน การโฆษณาชวนเชื่อหาสมาชิก จัดตั้งแนวร่วมในพื้นที่ ส่งสมาชิกไปฝึกอบรมในเขตงาน ๘ และ สปป.ลาว การสะสมอาวุธยุทโธปกรณ์รวมทั้งการก่อการร้ายด้วยการลอบโจมตีเจ้าหน้าที่
สรุปกำลังผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ในพื้นที่จว.เชียงราย - พะเยา
- กำลังติดอาวุธ ประมาณ ๑๖๐๐ - ๑๘๐๐ คน
- มวลชนให้การสนับสนุน ประมาณ ๖๐๐๐ - ๗๐๐๐ คน
เหตุการณ์และการปฏิบัติที่สำคัญสรุปได้คือ
๑. เมื่อ ๑๗ เม.ย. ๑๑ ผกค.ประมาณ ๘๐ - ๑๐๐ คนเข้าโจมตีฐานของตชด.ที่ บ.ห้วยคุ อ.เชียงของ ตชด.เสียชีวิต ๑๕ นาย
๒. เมื่อ ๒๐ ก.ย. ๑๓ ผกค.กลุ่มดอยหลวงได้ลวงเจ้าหน้าที่ ว่าจะเข้ามอบตัว เมื่อเจ้าหน้าที่ไปรับตัวที่บ.ห้วยกว๊าน ต.บ้านแซว อ.เชียงแสน แต่กลับซุ่มโจมตี เจ้าหน้าที่ ทำให้มีผู้เสียชีวิต ๓ นายคือ
- นายประหยัด สมานมิตร ผู้ว่าราชการ จว.เชียงราย
- พ.ต.อ.ศรีเดช ภูมิประหมัน รองผอ.ปค.เขต เชียงราย
- พ.อ.จำเนียร มีสง่า ผช.หน.ขว.ทภ.๓
๓. ยุทธการผาลาด (เป็นการฝึกร่วมประจำปี ๒๕๑๔)เมื่อ ๑ - ๓๐ เม.ย. ๑๔ บริเวณพื้นที่ฐานปฏิบัติการของผกค.ที่ดอยสันป่าก่อ,บ.เล่าอู,บ.ห้วยส้าน,ดอย น้ำสา,บ.แม้วหม้อในพื้นที่ อ.เชียงของ,อ.เทิงจว.เชียงรายและอ.เชียงคำ จว.พะเยา รวมมีกำลังพลเข้าปฏิบัติการ รวม ๕,๔๑๕ นาย
สรุปผล
- ฝ่ายเราเสียชีวิต ๒๒ นาย บาดเจ็บ ๗๘ นาย
- ฝ่าย ผกค.เสียชีวิต ๓๒๔ คน บาดเจ็บ ๖๐ คน
๔. ยุทธการผาภูมิ เป็น การฝึกร่วมประจำปี ๒๕๑๗ ระหว่าง๓ เหล่าทัพ ร่วมกับกำลังตำรวจ และพลเรือน เป็นการฝึกในลักษณะ ปฏิบัติจริง มีกองทัพบกเป็นผู้รับผิดชอบ ห้วงเวลาในการปฏิบัติคือ ๑ พ.ย. ๑๖ ถึง ๑๒ ม.ค. ๑๗ กำหนดพื้นที่เป้าหมายเป็น ๓ พื้นที่ คือ
-พื้นที่ดอยยาว – ดอยผาหม่น ซึ่งอยู่ในพื้นที่ อ.เชียงของ,อ.เทิง,จว.เชียงราย
- พื้นที่ แม้วหม้อ – ภูลังกา อ.เชียงคำ
- พื้นที่ดอยผาจิ – ผาช้างน้อย อ.ปง,อ.เชียงม่วน จว.พะเยา และ อ.เมือง จว.น่าน
๔.๑ สรุปยอดกำลังพล
ทบ. ๖,๙๒๕ นาย ทร. ๑,๒๗๔ นาย
ทอ. ๑,๗๗๒ นาย ตร. ๖๑๗ นาย
ชขส. ๑๘๗ นาย ชข.ชด. ๒๕ นาย
รวมทั้งสิ้น ๑๒,๑๘๗ นาย
๔.๒ สรุปผลการปฏิบัติ
๔.๒.๑ ฝ่ายเรา
-เสียชีวิต จากการรบ ๙ นาย ทางธุรการ ๖ นาย
- บาดเจ็บ จากการรบ ๕๑ นาย ทางธุรการ๓๒ นาย
๔.๒.๒ ผกค.
- เสียชีวิต ( ยึดศพได้ ๕ ศพ ) คาดว่าตาย ๕๐ คน
- บาดเจ็บประมาณ ๑๐๐ คน
๕. ยุทธการเกรียงไกร ๑๗ เมื่อ ๒๕ พ.ย. - ๖ ธ.ค. ๑๗
พื้นที่ ดอยยาว - ดอยผาหม่น
ภารกิจ ลว.กวาดล้าง ค้นหา ทำลาย
หน่วยปฏิบัติ ฉก.พล.๔ จัดตั้ง ทก.ยว. ๒ ประกอบด้วย ร้อย.ร.๔๗๒และ ร้อย.ร.๔๗๓
สรุปผล
- ฝ่ายเราเสียชีวิต ๒ นาย บาดเจ็บ ๑๓ นาย
- ผกค. ตรวจการเห็นบาดเจ็บ/ตาย ๕ คน
๖. ยุทธการเสนีย์ เมื่อ๙ - ๑๗ ก.พ. ๑๘
พื้นที่ ดอยยาว - ห้วยจะยิน กวาดล้าง ทำลาย ผกค.
ฉก.พล.๔
ทก.ยว.๑ ประกอบด้วย ร้อย.ร.๔๔๑,ร้อย.ร.๔๔๒,ร้อย.ร.๔๔๓(-)
ทก.ยว.๒ ประกอบด้วย ร้อย.ร.๔๗๑,ร้อย.ร.๔๗๒,ร้อย.ร.๔๗๓(-)
สรุปผล
ฝ่ายเรา
- เสีย ชีวิต ๙ นาย
- บาดเจ็บ สาหัส ๔๙ นาย , เล็กน้อย ๑๘ นาย
- สุนัข ตาย ๑ ตัว
ผกค.
- ตรวจพบถูกยิง บาดเจ็บ/ตาย ๗ คน
- ทราบภายหลัง เสียชีวิต ๕๗ คน บาดเจ็บ ๒๙ คน
๗. ผกค.ซุ่มโจมตีราษฎร อ.แม่สรวย ที่ บ.ห้วยไคร้ ต.ตับเต่า อ.เทิง จว.เชียงราย เมื่อ ๓ มี.ค. ๒๐
-ราษฎร กลับจากการฝึก บ.ปางค่า ถูกซุ่มที่ บ.ห้วยไคร้
- ราษฎร เสียชีวิต ๒๗ คน บาดเจ็บ๑๔ คน (ทหาร ๑ คน)
๘. วีรกรรมขุนห้วยโป่ง ๒๐ - ๒๓ ม.ค. ๒๑ กวาดล้างทำลายผกค.บริเวณ ขุนห้วยโป่ง
หน่วยปฏิบัติ ทก.ยว. ๒ ประกอบด้วย ร้อย.ร.๔๗๑และร้อย.ร.๔๗๒
สรุปผล
ฝ่ายเรา
- เสียชีวิต ๑ นาย บาดเจ็บสาหัส ๗ นาย เล็กน้อย ๑๗ นาย
ผกค.ทราบจากแหล่งข่าว
- เสียชีวิต ๗๐ คน บาดเจ็บ๓๕ คน
ผกค. ถอนตัวจาก ขุนห้วยโป่งไปอยู่ขุนห้วยจะยิน ทำให้สามารสร้างเส้นทาง บ.ป่าบง - บ.ปางค่า
๙. วีรกรรม ร.ท.ทายาท คล่องตรวจโรคและร.ท.ปิยวิพากษ์ เปี่ยมญาติ ณ บ.ไฮ้ ต.ตับเต่า อ.เทิง จว. ช.ร. เมื่อ๑๗ มี.ค. ๒๒
๑๐. วีรกรรมยึดเนิน ห้วยตีนตก ปี ๒๕๒๒ - ๒๕๒๓
หน่วยปฏิบัติ พัน.ร. ๔๗๓
ภารกิจ เข้าแย่งยึดพื้นที่อิทธิพลของผกค.เพื่อสนับสนุนการสร้างทางสายบ.ปี้ - บ.ปางค่า - บ.ลุง
สรุปผล
- การยึดห้วยตีนตก ๒ พ.ค.๒๒ จัดกำลัง ๓ ร้อย.ร.
ฝ่ายเรา เสียชีวิต ๗ คน บาดเจ็บ ๑๙ คน
ผกค. ไม่ทราบการสูญเสีย
- การยึดเนิน ๔๗๑ ๔ ก.ค.๒๒ จัดกำลัง๒ ร้อย.ร.
ฝ่ายเรา เสียชีวิต ๘ นาย บาดเจ็บ ๒๘ นาย
- การยึดเนิน ๘๒๔ ๑ ก.พ. ๒๓ จัดกำลัง ๑ ร้อย.ร. ,ชุดคุ้มกันสร้างทาง ๑๕๐ นาย
ฝ่ายเรา เสียชีวิต ๕ นาย บาดเจ็บ ๑๒ นาย
ผกค. เสียชีวิต ๑๒ นาย บาดเจ็บ ๒๒ นาย
- การยึดเนิน ๗๖๐ เมื่อ๘ พ.ค. ๒๓ จัดกำลัง๑ ร้อย.ร.,ชุดคุ้มกันสร้างทาง ๒๘๐ คน
ฝ่ายเรา เสียชีวิต ๗ นาย บาดเจ็บ ๒๗ นาย
ผกค.เสียชีวิต ๑๗ นาย บาดเจ็บ ๒๔ นาย
๑๑. ยุทธการอิทธิชัย ๒๓ วีรกรรมยึดดอย ม่อนเคอ ปี ๒๕๒๓
เมื่อ ๑๑ ส.ค. ๒๓ พัน.ร.๔๗๓ จำนวน ๑๖ ชป. ทหารพราน และตชด. ๕ ชป. ซึ่งเป็นกำลังที่จัดจากร้อย.ร. ๔๗๓๑,ร้อย.ร.๔๗๓๒และร้อย.ร.๔๗๑๓ ภารกิจ แย่งยึด ดอยม่อนเคอ ซึ่งเป็นเขตฐานที่มั่นของผกค.
สรุปผล สามารถยึดที่หมายได้
- ฝ่ายเราเสียชีวิต ๑ นาย บาดเจ็บ ๒๐ นาย (สาหัส ๘ นาย)
๑๒. ยุทธการเกรียงไกร วีรกรรมที่เนิน๑๑๘๘ พญาพิภักดิ์ สันดอยยาว ๑๙ - ๓๐ พ.ค. ๒๔
ภารกิจ กวาดล้าง ผกค.บริเวณ เนิน๑๑๘๘ ดอยพญาพิภักดิ์ หน่วยปฏิบัติ จัดกำลัง เข้าตี ๔ ทิศทาง ประกอบด้วยหน่วยต่างๆคือ
- พัน.ร.๔๗๑ จัดกำลังจำนวน ๒๔ ชป. - ร้อย. ๓ ตชด. - ร้อย.อส.
- ทพ. - มว.ช. - มว.สุนัขสงคราม
- ชุด ผตน.ป.
ผล สามารถยึดเนินพญาพิภักดิ์ และเนิน ๑๐๒๐ สถาปนาเป็นฐานที่มั่นถาวรได้สำเร็จ
ฝ่ายเราเสียชีวิต ๓ นาย บาดเจ็บ ๑๔ นาย
ผกค.เสียชีวิต ๒๓ คน บาดเจ็บ ๕๐ คน
๑๓. การเข้ายึดดอยผาจิ สลายเขตงาน ๗ ของผกค. ๒๒ มี.ค. ๒๕
กำลังที่ใช้
- พ.ต.ท.๓๑ - พ.ต.ท. ๓๒
- พัน.ร.ผสม ๗๔๒ - ทหารพรานจู่โจมค่ายปักธงชัย
- อส.จ.น่าน
สามารถสลายเขตงาน ๗ ของผกค.ลงได้ ยุติการสู้รบลงตั้งแต่นั้นมา
ที่มา : our-teacher.com
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น