หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

พระธาตุจอมทอง

พระธาตุจอมทอง

พระธาตุจอมทอง
ที่ตั้ง วัดดอยทอง หรือวัดพระธาตุดอยทอง ตำบลเวียง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย โทร o-๕๓๗๑ - ๖o๕๕ มีครูวินัยธรสุรัตน์เป็นเจ้าอาวาส

ประวัติพระธาตุ
พระธาตุจอมทองเป็นมงคลนามแห่งเมืองเชียงราย เดิมเป็นวัดเก่าแก่สันนิษฐานว่ามีมาก่อนที่พ่อขุนเม็งรายจะมาพบพื้นที่และ สร้างเป็นเมืองเชียงราย ในปี พ.ศ. ๑๘o๕ ตามหลักฐานปรากฏในหนังสือพงศวดารโยนกของพระยาประชากรจักรกล่าวว่า เมื่อพระพุทธศาสนาล่วงแล้ว ๙๕๖ พรรษามีพระเถระเจ้ารูปหนึ่งนามพระพุทะโฆษา เป็นชาวโกศลเมื่อสุธรรมวดี (สะเทิ้ม) ในสามัญประเทศได้ออกไปสู่เมืองลังกาทวีปนำคัมภีร์พระไตรปิฏก แห่งลังกาทวีปมาสู่สามัญทวีปและพุกามประเทศ และเข้ามาสู่โยนกนครไชยบุรีศรีเชียงแสน ในวันจันทร์ขึ้น ๘ ค่ำเดือน ๖ ปีชวด มหาศักราชได้ ๓๓๕ (พ.ศ. ๑๔๘๓) นำพระบรมสารีริกธาตุ ๓ ขนาดรวม ๑๖ องค์ ถวายแก่พระเจ้าพังคราช เจ้าเมืองโยนกนาคพันธ์ พระองค์ได้แบ่งได้แบ่งเป็นพระธาตุขนาดใหญ่หนึ่ง ขนาดกลางสองรวมสามองค์ส่งให้พญาเรือนแก้ว เจ้าเมืองไชยนารายณ์ (บริเวณอำเภอเวียงชัยในปัจจุบัน) ส่วนหนึ่งบรรจุลงมหาสถูปบนดอยทอง ขนานนามว่าพระธาตุดอยจอมทอง เพื่อเป็นมงคลนามของเมืองมีพิธีสงน้ำพระธาตุทุกวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ (เดือน ๕ เหนือ)

การเดินทาง
จากห้าแยกพ่อขุนเม็งรายมหาราช เข้าถนนอุตรกิจไปจนถึงสี่แยกพหลโยธิน (สายใน) เลี้ยวขวาผ่านหน้ากองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดเชียงราย และสถานีตำรวจภูธรจังหวัดเชียงราย เลี้ยวซ้ายเข้าถนนสิงหไคล ผ่านองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงรายและการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยสำนัก งานภาคเหยือเขต ๒ ตรงไปจนถึงปากทางเข้าศาลากลางจังหวัดเชียงราย เลี้ยวซ้ายเข้าถนนไตรรัตน์ ผ่านวัดพระแก้ว เลี้ยวขวาผ่านโรงเรียนเชียงรายวิทยาคม เลี้ยวขวาอีกครั้งหนึ่งขึ้นดอยทองผ่านวัดงำเมืองไปประมาร ๓๕o เมตร ก็จะถึงปากทางขึ้นพระธาตุดอยจอมทอง

ความเชื่อ
ในการไหว้พระธาตุดอยจอมทอง เชื่อกันว่า ถ้ากราบไหว้และตั้งจิตอธิฐานท่านจะมีทรัพย์สินเงินทอง
คำบูชาพระธาตุจอมทอง
วันทามิ เจติยัง สัมพัฏฐาเนสุ ปติฏฐิตา สรีระธาตุ มหาโพธิง พุทธะรูปัง สกลังสทา
นาคะโลเก เทวะโลเก ตาวะตังเส พรัมมะโลเก ชัมภูทีเป ลังกาทีเป
สรีระธาตุโย เกสาธาตุโย อรหันตาธาตุ โยเจติยัง คันธะกุฏิ จตุราสีติ
ติสะหัสสะ ธัมมักขันธา ปาทะเจติยัง นะระเทเวหิ อหังวันทามิ ธาตุโย อหังวันทามิ
ทูระโต อหังวันทามิ สัพพะโส

วันอาทิตย์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

พระธาตุจอมหมอกแก้ว


พระธาตุจอมหมอกแก้ว
ที่ตั้ง วัดจอมหมอกแก้ว บ้านดงมะเฟือง ตำบลจอมหมอกแก้ว อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย โทร. o- ๕๓๗๑ -๗๑๖๖ มีพระครูอรุณสวัสดิ์ มุนิวังโส เป็นเจ้าอาวาส

ประวัติพระธาตุ พระธาตุจอมหมอกแก้ว ถูกสร้างขึ้นมาในสมัยใดยังไม่มีปรากฏหลักฐาน แต่มีเรื่องเล่าว่า เมื่อ ๑oo กว่าปีที่แล้ว ชาวบ้าที่ตั้งถิ่นฐานอยู่แถบนั้นได้เข้าไปหาของป่า และได้พบจอมปลวกมีลักษณะคล้ายพระธาตุ ตั้งอยู่บนเนินเตี้ยๆลูกหนึ่ง และในบริเวณนั้นมีต้นไม้ที่ ชาวเหนือเรียกว่าต้นส้มป่อยอยู่มากมาย มีลักษณะโน้มเอียงเหมือนพญานาค และได้พบเครื่องปั้นดินเผาที่แตกกระจัดกระจายอยู่ทั่วบริเวณ ชาวบ้านจึงได้พากันกราบไหว้จอมปลวกนั้น ใครจะเข้าไปทำอะไรในป่าบริเวณนี้ต้องมาต้องมากราบไหว้บูชาขออนุญาตเสียก่อน ไม่เช่นนั้นก็จะมีอันเป็นไปต่างๆนานา ชาวบ้านแถบนั้นเชื่อว่าจอมปลวกนั้นเป็นที่บรรจุ อัฐิของเชื้อพระวงค์ในสมัยโบราณ สันนิษฐานว่าเจดีย์ถูกสร้างขึ้นมาครอบจอมปลวกภายหลัง
การเดินทาง จากแยกเด่นห้า มาตามถนนเด่นห้า – ดงมะดะ ผ่านปากทางไปวัดร่องขุ่นทางด้านตะวันออก ปากทางเข้าน้ำตกขุนกรณ์ทางด้านตะวันตก ผ่านศูนย์วิจัยเพาะเลี้ยงพันธุ์สัตว์ป่า บ้าหนองผักเฮือด ตลอดเส้นทางราว 24 กิโลเมตร ก็จะถึงพระธาตุจอมหมอกแก้ว

ความเชื่อ ในการไหว้พระธาตุดอยจอมหมอกแก้ว เชื่อกันว่า อุปสรรคที่เปรียบเหมือนหมอกควันสีดำถ้ากราบไหว้และตั้งจิตอธิฐานอุปสรรคทั้ง หลายก็จะจางใสเหมือนหมอกแก้วและประสบความสำเร็จ คำบูชาพระธาตุจอมหมอกแก้ว
อะหังวันทามิ อิธะ ปติฏฐิตา อะระหัตตะ ธาตุโย
ตัสสะ นุภาชนะ สะทา โสตถี ภะวันตุเม
ที่ตั้ง วัดจอมหมอกแก้ว บ้านดงมะเฟือง ตำบลจอมหมอกแก้ว อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย โทร. o- ๕๓๗๑ -๗๑๖๖ มีพระครูอรุณสวัสดิ์ มุนิวังโส เป็นเจ้าอาวาส

ประวัติพระธาตุ พระธาตุจอมหมอกแก้ว ถูกสร้างขึ้นมาในสมัยใดยังไม่มีปรากฏหลักฐาน แต่มีเรื่องเล่าว่า เมื่อ ๑oo กว่าปีที่แล้ว ชาวบ้าที่ตั้งถิ่นฐานอยู่แถบนั้นได้เข้าไปหาของป่า และได้พบจอมปลวกมีลักษณะคล้ายพระธาตุ ตั้งอยู่บนเนินเตี้ยๆลูกหนึ่ง และในบริเวณนั้นมีต้นไม้ที่ ชาวเหนือเรียกว่าต้นส้มป่อยอยู่มากมาย มีลักษณะโน้มเอียงเหมือนพญานาค และได้พบเครื่องปั้นดินเผาที่แตกกระจัดกระจายอยู่ทั่วบริเวณ ชาวบ้านจึงได้พากันกราบไหว้จอมปลวกนั้น ใครจะเข้าไปทำอะไรในป่าบริเวณนี้ต้องมาต้องมากราบไหว้บูชาขออนุญาตเสียก่อน ไม่เช่นนั้นก็จะมีอันเป็นไปต่างๆนานา ชาวบ้านแถบนั้นเชื่อว่าจอมปลวกนั้นเป็นที่บรรจุ อัฐิของเชื้อพระวงค์ในสมัยโบราณ สันนิษฐานว่าเจดีย์ถูกสร้างขึ้นมาครอบจอมปลวกภายหลัง
การเดินทาง จากแยกเด่นห้า มาตามถนนเด่นห้า – ดงมะดะ ผ่านปากทางไปวัดร่องขุ่นทางด้านตะวันออก ปากทางเข้าน้ำตกขุนกรณ์ทางด้านตะวันตก ผ่านศูนย์วิจัยเพาะเลี้ยงพันธุ์สัตว์ป่า บ้าหนองผักเฮือด ตลอดเส้นทางราว 24 กิโลเมตร ก็จะถึงพระธาตุจอมหมอกแก้ว

ความเชื่อ ในการไหว้พระธาตุดอยจอมหมอกแก้ว เชื่อกันว่า อุปสรรคที่เปรียบเหมือนหมอกควันสีดำถ้ากราบไหว้และตั้งจิตอธิฐานอุปสรรคทั้ง หลายก็จะจางใสเหมือนหมอกแก้วและประสบความสำเร็จ คำ

บูชาพระธาตุจอมหมอกแก้ว
อะหังวันทามิ อิธะ ปติฏฐิตา อะระหัตตะ ธาตุโย
ตัสสะ นุภาชนะ สะทา โสตถี ภะวันตุเม

วันพุธที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

พระธาตุจอมแว่


พระธาตุจอมแว่
ที่ตั้ง วัดพระธาตุจอมแว่ ตำบลเมืองพาน อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย โทร. o -๕๓๗๒- ๑๘๒๑ มีพระครูพิมล พิพัมนคุณเป็นเจ้าอาวาส

ประวัติพระธาตุ ตามตำนานได้กล่าวไว้ว่า พระธาตุจอมแว่ได้สร้างขึ้นโดยพญางำเมือง เจ้าเมืองภูกามยาว (พะเยา) ในราว จ.ศ. ๖๕๖ (พ.ศ. ๑๘๓๗) โดยที่พระองค์ได้เสด็จขึ้นดอยซางคำ (ชื่อเดิมของดอยจอมแว่) เพื่อตรวจดูอาณาเขตบ้านเมืองของพระองค์ว่ามีไพร่ฟ้าประชาราษฎร์ว่าอยู่ตรง ไหนบ้าง จากนั้นจึงเสด็จไปยังดอยอีกลูกหนึ่งซึ่งอยู่ตอนเหนือของลำน้ำแม่คาวด้วน และเสด็จเลียบต้นดอยด้วน (ดอยงาม) แล้วเสด็จไปยังเมืองภูกามยาว เมื่อพระองค์เสด็จถึงเมืองภูกามยาวใน เดือน ๔ ปีเดียวกัน จึงโปรดให้ขันฑเสนามาตย์ นำผู้ที่มีความรู้ในการก่อสร้างเจดีย์ พร้อมกับไพร่ฟ้าปลายแดน มาลงแรงช่วยกันสร้างพระธาตุจอมแว่ขึ้นที่ดอยซางคำ โดยได้ก่อทับรอยฟานเอาไว้ บรรจุพระเกศาธาตุ และแก้วแหวนเงินทองเอาไว้ สร้างเสร็จสมบูรณ์ในเดือน ๘ จึงได้มีพิธีการเฉลิมฉลองสมโภชพระเจดีย์เป็นเวลา ๓ วัน ๓ คืน ในสมัยเจ้าเมืององค์ต่อมา บ้านเมืองอยู่ในสภาวะไม่สงบสุขประชาชนจึงได้อพยพไปอยู่ที่อื่น ทำให้พระธาตุจอมแว่ทรุดโทรมปรักหักพังจากภัยธรรมชาติ จนในปี จ.ศ. ๑๑๙๙ (พ.ศ. ๒๓๘o ) พระยาหาญเจ้าเมืองพานคนแรกจึงได้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นมาใหม่จากซากเดิม จนในสมัยพญาไชยชนะสงคราม เจ้าเมืองพานคนที่ ๓ ได้ร่วมศรัทธา ๓ หมู่ ร่วมกันบูรณาพระธาตุขึ้นมาใหม่ให้ใหญ่กว่าเดิม แล้วบรรจุพระมหาชินธาตุเอาไว้มีประเพณีสรงน้ำพระธาตุในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ เหนือ

การเดินทาง
จากอำเภอแม่สรวยใช้ทางหลวงหมายเลข ๑๑๘ ย้อนกลับไปที่ทางแยกเชียงราย – แม่สรวย อำเภอแม่ลาวเลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข ๑ ถนน เชียงราย – พะเยา มุ่งสู่อำเภอพานข้ามสะพานข้ามแม่น้ำลาว ผ่านบ่อน้ำพุร้อนห้วยทรายขาว เข้าเขตอำเภอพาน เลี้ยวขวาเข้าถนนสายในตรงแยกวัดไชยมงคล เข้าไปประมาณ ๓oo เมตรจะพบทางเข้าพระธาตุจอมแว่ฝั่งขวามือ รวมรายการทั้งสิ้นประมาณ ๔๙ กิโลเมตร

ความเชื่อ
ในการไหว้ พระธาตุดอยจอมแว่
- ความหมายนัยยะที่ 1 แว่เป็นภาษาเหนือ แปลว่า แวะถ้าผู้ใดผ่านมาแวะกราบไหว้บูชาก็จะแคล้วคลาดปลอดภัยจากสิ่งเลวร้ายทั้ง ปวง
- ความหมายนัยยะที่ 2 แว่ เปรียบเหมือนเสียงเริ่มพูด เริ่มเจรจา ถ้าได้กราบไหว้และตั้งจิตอธิฐานการเจรจาธุรกิจจะประสบผลสำเร็จ

คำบูชาพระธาตุ
อะหัง วันทามิ มหาชินะ เกศา ธาตุโย
พุทธรูปัง โคตมัง อะหัง วันทามิ

วันพุธที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

งานดอกเสี้ยวบาน ณ ภูชี้ฟ้า

งานดอกเสี้ยวบาน ณ ภูชี้ฟ้า วันที่ 13 – 15 ก.พ. 54

สถานที่ : บ้านร่มฟ้าไทย ภูชี้ฟ้า ต.ตับเต่า อ.เทิง จ.เชียงราย




เป็นพันธ์ไม้ยืนต้น หรือว่า ชงโคป่า ขึ้นตามภูเขาเทือกเขาดอยผาหม่น ออกดอก ในช่วง เดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนมีนาคม สวยสฟรั่ง เป็นสัญลักษ์ แห่งความสวยงาม ทางสภาตำบลตับเต่า ในยุคนั้น เลยจัดงาน วันดอกเสี้ยวบานขึ้นใน ปี พ.ศ 2534 จนถึงปัจจุบัน งานดอกเสี้ยว จึงเป็นสัญลักษ์ ของตำบล และองการบริหารส่วนตำบล เห็นความสำคัญของงาน และมีกิจกรรมให้นักท่องเที่ยวได้ชม มากมาย งานนี้ ได้จัดงานขึ้นระหว่างวันที่ 13-15 กุมภาพันธ์ ของทุกปี ตรงกับเทศการวันวาเลนไทม์ ซึ่งกิจกรรมจะเน้นการอนุรักษ์และฟื้นฟู ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมของชนเผ่าต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ ตำบลตับเต่า อาทิ ชาวเขาเผ่าม้ง เผ่าอาข่า และเมี่ยน

กิจกรรม

- มีการแข่งขันกีฬา
- การแสดงศิลปวัฒนธรรมชาวดอย (การโล้ชิงช้าของชาวเขาเผ่าอาข่า) บริเวณบ้านร่มฟ้าไทย อำเภอเทิง
- การประกวดธิดาดอกเสี้ยว - โครงการจดทะเบียนสมรส 14 กุมภาพันธ์
- การสาธิตการปักผ้า ของชาวเขาเผ่าม้งที่มีความสวยงาม
- การเล่นกีฬาพื้นบ้าน
- การจัดประลองแรลลี่ภูเขา
- ฯลฯ



สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์บริการข้อมูลการท่องเที่ยว องค์การบริหารส่วนตำบลตับเต่า โทร. 01-6036100, 053-609494




ผลออกสลากกาชาดการกุศลจังหวัดเชียงราย 2554

การ หมุนวงล้อออกรางวัลสลากกาชาดการกุศลจังหวัดเชียงรายผู้ถูกรางวัลติดต่อขอรับ รางวัลได้ภายในวันที่ 19 มีนาคม 2554 ที่ทำการปกครองจังหวัดเชียงราย ศาลากลางจังหวัด


นางกมลวรรณ หทยะตันติ นายกเหล่ากาชาดจังหวัดเชียงราย กล่าวว่า ในงานพ่อขุนเม็งรายมหาราชและงานกาชาดจังหวัดเชียงราย ประจำปี 2554 ที่บริเวณฝูงบิน 416 สนามบินเก่า อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย เมื่อคืนวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2554 ที่ผ่านมาได้มีหมุนวงล้อออกสลากาชาดการกุศลโดยมีผลการออกสลากรางวัลได้แก่

รางวัลที่ 1 หมายเลข 19310

รางวัลที่ 2 หมายเลข 35272 ,85861,09531

รางวัลที่ 3 หมายเลข93254,21521,93296,71034,15654,96503,34991,35730,81489,76230

รางวัลที่ 4 หมายเลข 11213,13468,95720,76632,29822,7117,90385,70744,03500,95844,84546,80325, 02557,50336,66969,54681,58419,26535,64896,02819

รางวัลที่ 5 หมาย เลข4343,89489,71557,30706,10525,33175,90370,11692,86761,52238,88941,30185, 01409,77874,30133,16619,90123,76316,66951,1763192342,75569,31836,46855,52400,68577, 94130,09371,16732,09710,0795970899,03278,08259,43842,98594,51579,12077,90573,97660

รางวัลที่ 6 หมายเลข 95755,06740,17055,38092,38678,12030,88843,91693,23955,81491

และรางวัลเลขท้าย 3 ตัวหมายเลย 360 ผู้ที่ได้ถูกรางวัลให้ติดต่อขอรับรางวัลได้ ที่ทำการปกครองจังหวัดเชียงราย ฝ่ายการเงินและบัญชี ศาลากลางจังหวัดเชียงราย โทรศัพท์ 0-5374-4341,0-5315-0188 โดยรางวัลจะนำจ่ายแก่ผู้ถือฉลากฉบับที่ถูกรางวัล นำมาขอรับพร้อมบัตรประชาชนและสำเนาบัตรฯ ภายในวันที่ 19 มีนาคม 2554นี้

สำหรับรางวัลฉลากกาชาดการกุศลมีรางวัลที่ 1 รถยนต์กระบะโตโยต้า รุ่นวีโก้ มูลค่า 542,000 บาท จำนวน 1 รางวัล
รางวัลที่ 2 รถจักรยานยนต์ยามาฮ่า รุ่นฟีโน มูลค่ารางวัลละ 45,000 บาท รวม 3 รางวัล
รางวัลที่ 3 สร้อยคอทองคำ หนัก 2 บาท จำนวน 10 รางวัล
รางวัลที่ 4 สร้อยคอทองคำหนัก 1 บาท จำนวน 20 รางวัล
รางวัลที่ 5 สร้อยคอทองคำหนัก 2 สลึง จำนวน 40 รางวัล
รางวัลที่ 6 ตู้เย็น 5 คิว จำนวน 10 รางวัล
และรางวัลเลขท้าย 3 ตัว รางวัลมูลค่า 1,000 บาท จำนวน 100 รางวัล
 
แหล่งข่าว : สวท.เชียงราย

วันอังคารที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

พระธาตุจอมจ้อ

พระธาตุจอมจ้อ
ข้อมูลติดต่อ
วัดพระธาตุจอมจ้อ ตำบลเวียง อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย
โทร / แฟ็กซ์ 053666449
พระธาตุจอมจ้อ ที่ตั้ง วัดพระธาตุจอมจ้อ ตำบลเวียง อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย โทร. o- ๕๓๖๖- ๖๔๔๙ มีพระมหาชูศักดิ์เป็นเจ้าอาวาส ประวัติพระธาตุ พระธาตุจอมจ้อเป็นพระธาตุศักดิ์สิทธิที่อยู่คู่เมืองเทิงมาตั้งแต่สมัยโบราณ กาล ประวัติพระธาตุจอมจ้อจากคัมภีร์เก่าแก่ที่ตั้งโดยนักปราชญ์ผู้ชำนาญในด้าน ภาษาบาลีของอำเภอเมืองเทิง (เมืองเถิง) ในสมัยนั้นได้กล่าวว่า ในกาลสมัยเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จมาสุวรรณภูมิ พระองค์ได้พักอยู่ใต้ต้นอโศกบนดอยใกล้แม่น้ำอิง

 มี พญานาคตนหนึ่ง รู้ว่าพระพุทธองค์เสด็จมาจึงเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ทูลถามความต่างๆแล้วจึงนำจ้อคำ ๓ ผืนแล้วจ้อแก้วอีก ๓ ผืน มาถวายพระพุทธองค์ พระอานนท์จึงขอทูลพระธาตุให้พระยานาคตนนั้น พระพุทธองค์จึงนำพระหัตถ์ลูบพระเศียรได้พระเกศาธาตุเส้นหนึ่ง จึงโปรดให้พญานาคไว้พญานาคจึงนำความแจ้งให้เจ้าเมืองสร้างพระธาตุไว้ที่กลาง ดอยเพื่อบรรจุพระเกศาธาตุ ต่อมาจึงมีการขนานนามพระธาตุนั้นว่า พระธาตุจอมจ้อ ทุกปีจะมีพิธีสรงน้ำพระธาตุจอมจ้อ ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ เหนือ



การเดินทาง ออกจากอำเภอพานใช้ทางหลวงหมายเลข ๑ ไปทางใต้แยกพาน – ป่าแดด เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข ๑๑๘๑ ผ่านสันมะเค็ด ป่าแงะ ถ้าผาจรุย จนถึงสามแยกเชียงเคี่ยน เลี้ยวขวาเข้าถนนศรีเชียงราย – เทิง ผ่านยศรีดอนชัย ปล้อง เข้าสู่อำเภอเมืองผ่านสถานีตำรวจภูธรอำเภอเทิง โรงพยาบาลเทิง และวัดพระศรีมหาโพธิ์ ข้ามสะพานแม่น้ำอิงอีก ๒๕o เมตร จะถึงปากทางเข้าพระธาตุจอมจ้อ ต้องขับรถขึ้นดอยอีกประมาณ ๓oo เมตร รวมราการเดินทางทั้งสิ้น ๖๕ กิโลเมตร
ความเชื่อ ในการไหว้ พระธาตุดอยจอมจ้อ จ้อ หมายถึง พูดดี พูดเก่ง ถ้าได้กราบไหว้ก็จะประสบความสำเร็จทุกสิ่งเหมือนกับการเริ่มเจรจาก็นำมาซึ่ง ความสำเร็จและสมประสงค์ทุกประการ



คำบูชาพระธาตุจอมจ้อ
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (3 จบ)
อะหัง วันทามิ ธาตุโย เกสาธาตุ มานะธาตุ
อิมัสสะหมิง ปติฏฏัง อุตะระ ปัพพัตตัง อะหัง วันทามิสิระสา (กล่าว 3 จบ)

วันเสาร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ตำนานบูชาพระธาตุเก้าจอม


ตำนานบูชาพระธาตุเก้าจอม
พระธาตุเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของชาวพุทธ ที่เป็นสถานที่เก็บพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อันเปรียบเสมือนเป็นองค์แทนพระองค์ไว้ให้พุทธศาสนิกชนได้กราบไหว้บูชา ระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงบำเพ็ญเพียรเผยแพร่หลักธรรมแห่งพุทธศาสนา เพื่อการหลุดพ้นจากบ่วงกรรมความทุกข์ทั้งปวง อันจะนำพาความเป็นสิริมงคลมาสู่ชีวิตของผู้ที่เคารพและศรัทธา
ตามคติความเชื่อของชาวล้านนามาตั้งแต่โบราณกาล เชื่อกันว่าการได้ทำบุญวัดประจำปีเกิด หรือการได้ไปทำบุญวัดที่เป็นมงคลนามทั้งเก้า รวมถึงการได้ไปนมัสการสักการะพระธาตุเก้าจอม จะทำให้เกิดความเป็นสิริมงคล “อยู่เย็นเป็นสุข” หรือ ตามคติล้านนาว่า “อยู่ดีกินหวาน” ประสบความสำเร็จทั้งการงาน การเงิน การดำเนินชีวิตได้สมดังปรารถนา

พระธาตุ ถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มีอัศจรรย์ปาฏิหาริย์มาก จากคำบอกเล่าของบรรพชนมักได้ยินได้ฟังอยู่เสมอว่า ทุกวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ ของบางเดือน จะเกิดปรากฏการณ์พิเศษเกิดขึ้นอยู่เสมอๆ เช่น การปรากฏลำแสงพวยพุ่ง สุขสว่างสดใสเป็นรัศมีสีแดง สีเหลือง สีขาว ขึ้นรอบองค์พระธาตุ หรือ พาดผ่านขึ้นสู่ท้องฟ้าบ้าง หรือการปรากฏความร่มเย็นเป็นสุขมีฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาลที่แห้งแล้วบ้าง หรือปรากฏกลิ่นหอมโรยรื่นอบอวลชวนให้จิตใจสดชื่นแจ่มใสบ้าง ซึ่งปรากฏการณ์เหล่านี้สำแดงออกมาโดยอัศจรรย์ด้วยพุทธานุภาพเป็นที่เลื่อมใส ศรัทธาแก่ผองชนที่เคารพเลื่อมใสเป็นอันมาก
พระธาตุเก้าจอม เป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในส่วนต่างๆ ของพระวรกายโดยแท้ มีประวัติตำนานกล่าวขานที่เป็นพุทธมงคลรวมทั้งนามที่ตั้งก็เป็นมงคลนาม ผู้ที่ได้สักการะพระธาตุครบทั้งเก้าจอมจะถือว่าน้อมรับมงคลอันยิ่งใหญ่และ สิ่งงดงามมาสู่ชีวิตของตนเองและบริวาร