หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

เดินทางมาจากกรุงเทพ


รถยนต์

สามารถเดินทางได้ 3 เส้นทาง ได้แก่


1. เส้นทางนครสวรรค์-ลำปาง-พะเยา-เชียงราย จากรังสิตมาตามถนนพหลโยธิน (ทางหลวงหมายเลข 1) แล้วแยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 32 ที่อำเภอวังน้อย จากนั้นผ่านจังหวัดอยุธยา สิงห์บุรี ชัยนาท นครสวรรค์ กำแพงเพชร ตาก เข้าสู่จังหวัดลำปาง แล้วตรงไปจังหวัดพะเยา จนเข้าสู่เชียงราย รวมระยะทาง 830 กิโลเมตร


2. เส้นทางนครสวรรค์-พิษณุโลก-แพร่-เชียงราย ใช้เส้นทางเดียวกับเส้นทางที่ 1 เมื่อไปถึงจังหวัดนครสวรรค์ ให้แยกขวามือไปตามทางหลวงหมายเลข 117 (นครสวรรค์-พิษณุโลก) จากนั้นใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 11 (พิษณุโลก-เด่นชัย) จากจังหวัดพิษณุโลก ผ่านจังหวัดอุตรดิตถ์ จนถึงอำเภอเด่นชัย ให้เลี้ยวไปทางจังหวัดแพร่ ตามทางหลวงหมายเลข 101 (แพร่-น่าน) จนถึงอำเภอร้องกวาง เลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 103 ไปบรรจบกับถนนพหลโยธินที่อำเภองาว เข้าสู่จังหวัดพะเยา แล้วตรงต่อไปจนถึงเชียงราย ระยะทางประมาณ 804 กิโลเมตร


3. เส้นทางนครสวรรค์-ลำปาง-เชียงใหม่-เชียงราย ใช้เส้นทางเดียวกับเส้นทางที่ 1 จนไปถึงจังหวัดลำปาง จึงเปลี่ยนไปใช้ทางหลวงหมายเลข 11 (ลำปาง-เชียงใหม่) ผ่านไปจังหวัดลำพูน แล้วเข้าสู่จังหวัดเชียงใหม่ แล้วใช้ทางหลวงหมายเลข 118 (เชียงใหม่-เชียงราย) ผ่านดอยสะเก็ต แม่ขะจาน เวียงป่าเป้าเข้าสู่เชียงราย รวมระยะทาง 900 กิโลเมตร มีทางหลวงหมายเลข 11 ผ่านลำพูนมาลำปาง บรรจบกับทางหลวงหมายเลข 1 เพื่อเดินทางกลับกรุงเทพฯ ได้


รถโดยสารประจำทาง


มี รถโดยสารธรรมดาและรถโดยสารปรับอากาศของ บ.ข.ส. และของเอกชน ไปเชียงรายทุกวัน แบ่งเป็นหลายเส้นทาง ได้แก่ กรุงเทพฯ – เชียงราย, กรุงเทพฯ – แม่สาย, กรุงเทพฯ – เชียงแสน, กรุงเทพฯ – เชียงของ โดยจะมีรถออกจากสถานีขนส่งสายเหนือ ถนนกำแพงเพชร 2 สอบถามรายละเอียดได้ที่สถานีขนส่งสายเหนือ กรุงเทพฯ โทร. 0 2537 8055-6 สำนักงานเชียงราย โทร. 0 5371 1369 หรือบริษัท สยามเฟิร์สทัวร์ กรุงเทพฯ โทร. 0 2954 3601-7 สำนักงานเชียงราย โทร. 0 5371 1882 บริษัท สมบัติทัวร์ โทร. 0 2936 2495 สำนักงานเชียงราย บริษัท อินทราทัวร์ โทร. 0 2936 2492 สำนักงานเชียงราย โทร. 0 5371 1235 บริษัท คฤหาสน์ทัวร์ โทร. 0 2936 3531 สำนักงานเชียงราย โทร. 0 5371 7083 นอกจากนั้นยังมีรถโดยสารสายเชียงราย–เทิง-เชียงคำ ทั้งรถปรับอากาศและรถพัดลม รถออกจากเชียงรายและเชียงคำ ทุก 30 นาที รถออกตั้งแต่เวลา 06.00 น. และรถโดยสารสายเชียงราย–เทิง–ภูซาง–ภูชี้ฟ้า เป็นรถพัดลม มีรถออกวันละ 2 เที่ยว รถออกจากเชียงราย เวลา 12.30 น. และ 13.30 น. ทุกวัน และรถออกจากภูชี้ฟ้า เวลา 07.30 น. และ 8.30 น. ทุกวัน สนใจสอบถามข้อมูลได้ที่ บริษัท ก.สหกิจเดินรถ จำกัด โทร. 0 2940 9421-2 หรือ 0 1646 7427 http://www.transport.co.th



รถไฟ


จาก สถานีรถไฟหัวลำโพง มีรถไฟไปลงที่จังหวัดลำปางหรือเชียงใหม่ แล้วเดินทางต่อโดยรถยนต์ ไปจังหวัดเชียงราย สอบถามรายละเอียดได้ที่ หน่วยบริการเดินทาง โทร. 1690, 0 2223 7010, 0 2223 7020 http://www.railway.co.th



เครื่องบิน


บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) มีเที่ยวบินตรงจากกรุงเทพฯ ไปเชียงราย และเที่ยวบินไป-กลับ ระหว่างเชียงราย-เชียงใหม่ ทุกวัน วันละ 2 เที่ยว สอบถามรายละเอียด โทร. 1566, 0 2280 0060, 0 2628 2000 สำนักงานเชียงราย โทร. 0 5371 1179, 0 5371 5207 สำนักงานเชียงใหม่ โทร. 0 5321 0043-5, 0 5321 1044 http://www.thaiairways.com
นอกจากนี้ยังมีบริการจากสายการบินราคาประหยัด (Low Cost Airlines) ให้บริการอีกสองสายการบิน คือ
One Two Go โดยสารการบิน Orient Thai Airlines มีเที่ยวบินตรงจากกรุงเทพฯ ไป-กลับ วันละ 1 เที่ยวบิน Hotline โทร. 1126 หรือ 0-53-793-041 เวบไซด์ http://www.onetwo-go.com
Thai Air Asia ก็เป็นสายการบินราคาประหยัดอีกสายการบินหนึ่งที่เปิดให้บริการเที่ยวบินตรง จากกรุงเทพฯ ไป-กลับวันละ 1 เที่ยว Hotline โทร. 0-2515-9999 เวบไซด์ http://www.airasia.com



การเดินทางระหว่างจังหวัดเชียงรายกับจังหวัดใกล้เคียง


จาก สถานีขนส่งเชียงราย มีรถโดยสารไปเชียงใหม่ พะเยา แพร่ น่าน ลำปาง แม่สอด พิษณุโลก พัทยา นครราชสีมา นครพนม อุดรธานี และขอนแก่น ติดต่อสถานีขนส่งเชียงราย โทร. 0 5371 1224 หรือ http://www.greenbusthailand.com

ผาตั้ง..ความสวยงามที่น้อยคนจะรู้จัก

มีน้อยท่านที่จะรู้จักผาตั้ง ผาตั้งอยู่ในเขตอำเภอเวียงแก่นจังหวัดเชียงรายห่างจากภูชี้ฟ้าไม่ไกลนักผา ตั้งเป็นจุดชมวิวจุดหนึ่งที่สวยไม่แพ้ภูชี้ฟ้ามีทะเลหมอกที่สวยงามมากเพราะ จุดที่เป็นทะเลหมอกจะมีแม่น้ำโขงไหลผ่านซึ่งไอระเหยจากน้ำโขงทำให้เกิดทะเล หมอกที่สวยงามสามารถชมพระอาทิตย์ขึ้นจากขอบฟ้าได้จากที่เหมือนกัน
ณ จุดชมวิวดอยผาตั้งตรงนี้สามารถมองเห็นประเทศลาวซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านของ เราได้อย่างชัดเจนมองเห็นแม่น้ำโขงอยู่ตรงหน้ามีช่องเขาลอดผ่านไปยังประเทศ เพื่อนบ้านซึ่งมีชื่อเรียกว่า ผาบ่องประตูสู่สยาม ซึ่งพื้นที่แถวนี้ในสมัยก่อนเป็นพื้นที่ที่มีการสู้รบกันระหว่างพรรค คอมมิวนิสต์ กับเหล่าทหารผู้กล้ากองพลเก้าสาม ผู้คนที่นี่ล้วนเป็นลูกหลานของทหารกองพลเก้าสามผู้คนที่นี่มีหลากหลายเชื้อ ชาติ จีน มง เย้า ผู้คนที่นี่อยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข
จุดชมวิวจะมีหลายระดับให้เราปีนเขายิ่งสูงก็ยิ่งเห็นทะเลหมอกที่สวยกว่าทุกๆ ปีของฤดูหนาวผู้คืนทั่วสาระทิศจะเดินทางมาสัมผัสอากาศหนาวที่นี่ไม่ขาดสาย ที่นี่มีห้องพักราคาประหยัดให้เช่ามากมายหลายเจ้า

อาธิ

บ้านกาแฟ http://www.bankafae.com

อาซาเลีย


เหมยฮัว

ผู้คนที่นี่บริการด้วยใจจริงๆ จริงใจ อาหารที่นี่ก็อร่อยอาหารที่นี่เป็นอาหารจีนยูนานซึ่งหากินได้ไม่ง่ายนักและ ก็มีรสชาติเป็นเอกลักษณ์ของที่นี่อย่าพลาดโดยเด็ดขาดต้องมาชิมให้ได้ โดยเฉพาะขาหมูหมั่นโถ ผัดผักเมืองหนาวปลอดสารพิษ


เมื่อทานอาหารเสร็จแล้วสิ่งที่พลาดเป็นไม่ได้ที่สุดหลังอาหารแบบนี้ต้องกาแฟ สดผาตั้งเนื่องด้วยที่นี่อยู่สูงจากน้ำทะเลมากพื้นที่จึงเหมาะแก่การปลูก กาแฟอาราบิก้าเป็นที่สุดยิ่งสูงยิ่งหนาวยิ่งทำให้ได้เมล็ดกาแฟที่มีผลโตและ มีคุณภาพของความหอมกรุ่นซึ่งกาแฟผาตั้งก็มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวอย่างที่คุณจะ หาดื่มที่ไหนไม่ได้อีกแล้วเป็นกาแฟที่ผ่านการคัดสรรอย่างดีกรรมวิธีตั้งแต่ เริ่มต้นจนมาเป็นกาแฟหนึ่งแก้วสำหรับแขกที่มาเยือนล้วนทำเองด้วยมือโดยไม่ ใช้เครื่องจักรแม้แต่น้อย ตั้งแต่การคั่วกาแฟด้วยกระทะจนเมล็ดกาแฟได้ทีจากนั้นนำมาบดและชงจนได้กาแฟ ที่หอมกรุ่นรสชาติดีเยี่ยม





การเดินทางที่จะต้องขับรถไต่ระดับความสูงของเทือกเขา ไปบน ถนนที่คดเคี้ยว ขึ้นลง ลงขึ้นตามสันเขาไหล่เขาลูกแล้วลูกเล่า...แน่นอนธรรมชาติ ป่าเขาฟ้าใสสายหมอกสลับดอกเสี้ยวขาว กับอากาศที่เย็นสบาย....ที่พักอาหารพร้อมการต้อนรับคอย... คอยการมาของท่านในทุกเมื่อ ทุกฤดูกาล.... จากภูชี้ฟ้าเดินทางต่ออีกประมาณ 30-40นาที..ทะเลหมอกที่งดงาม ผลไมสดจากสวน อาหารจีนยูนาน ของฝากแสนอร่อย กับชีวิตความเป็นอยู่ของลูกหลานและ ประวัติสาสตร์แห่งกองพล 93 ... ขึ้นชมภูชี้ฟ้า เลยมารับประทานอาหารยูนาน ซื้อของฝากคนทางบ้านที่ ดอยผาตั้ง ...
















อรุณรุ่ง บนภูหมอก



แสงแรกยามเช้า ตรู่ บนภูสูง



อากาศกำลังเย็นสบาย ปลายยอดดอย



ทิวทัศน์ดั่ง ทะเล สีทองยามแสงสุริยามาต้อง



สูดอากาศยามเช้า ให้หายเหนื่อยหลังจากลากสังขารตัวเองขึ้นมาจนถึง จุดหมาย


อีกมุมหนึ่ง ของความงาม ยามอุษา

วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

แผนที่ ขึ้นสู่ ภูชี้ฟ้า

เส้นทางที่จะขึ้นมาที่ภูชี้ฟ้า มี 3 เส้นทาง


การเดินทาง

++ ทางรถยนต์ส่วนตัว
การเดินทางไปยังภูชี้ฟ้า ได้สามเส้นทาง คือ 1.เส้นทางด้าน อ.เทิง 2.เส้นทางผ่าน อ.เชียงของ 3.เส้นทางจาก อ.เชียงคำ


เส้นทางขึ้นภูชี้ฟ้า เส้นที่ 1 หมายเลข 1093


ผู้ที่เดินทางมาจาก จังหวัดพะเยา จะผ่านอำเภอเชียงคำ ทางหลวงหมายเลข 1020 จะเจอตลาดสบปง (แวะหาเสบี่ยงตรงตลาดสบปงก่อนก็ได้) เลย ตลาดสบปงไปประมาณ500 ม. เจอสามแยก เลี้ยวขวา เข้า กิ่งอำเภอภูซาง ทางหมายเลข 1093 จะมีป้ายทางหลวงบอกทาง ผ่าน น้ำตกภูซางแวะเที่ยวน้ำตกภูซางกันก่อนได้ ครับ น้ำตกที่นี่เป็นน้ำซัพ น้ำอุ่น ทั้งปี ขับขึ้นเขามาเรื่อย ๆ ผ่าน บ้านฮวก ด่านจุดผ่อนปรน ไทย - ลาว (และมีตลาดนัด ไทยลาวด้วย ทุกวันที่ 10 และ 30 ของเดือน)

ขัถตรงไปเรื่อยๆ เส้นทาง
แคบและคดเคี้ยว ต้องใช้ความระมัดระวังตลอดเส้นทาง จนมาถึง บ้านพญาเลาอูจะพบ สามแยกซึ่งสามแยกนี้ เป็นทางขึ้นมาจาก บ้านปางค่า อำเภอเทิง (ดูแผนที่ประกอบ) เราตรงไปประมาณท้ายบ้าน พญาเลาอู จะผ่าน ศูนย์ส่งเสริมเกษตรที่สูง ดอยผาหม่น จุดนี้ สามารถแวะพัก หรือ ลงไปชมความงามของไม้ดอก ไม้ประดับ และในช่วง ประมาณ สิ้นเดือน ธันวาคม ถึงเดือน มกราคม มีไม้ดอกเมืองหนาว อย่าง ลินลี่ ทิวลิป ฯ ในศูนย์สาธิต และส่งเสริมการเกษตร ให้ชมด้วย ผ่าน หมวดการทาง เลาอู ซึ่งเราสามารถแวะพัก และชมวิว ชมดอกไม้ที่นี่ได้ และวิ่งตรงไปเรื่อยๆจะมี ที่พักริมทาง และรีสอร์ทต่างๆมากมาย (มีป้ายนำทางเป็นช่วง ๆ) ที่ที่สำคัญที่สุดต้องขับรถด้วยความระมัดระวัง รวมเส้นทางนี้จาก ปากทางสามแยก บ้านสบบง มาถึงภูชี้ฟ้าระยะทางประมาณ 50 กม.


เส้นทางขึ้นภูชี้ฟ้าเส้นที่ 2


ท่านที่เดินทางมาจาก จังหวัดเชียงราย ผ่านอำเภอเทิง บนทางหลวงหมายเลข 1020 ขับรถออก จาก ตัวอำเภอเทิง ไปทางอำเภอเชียงคำ ประมาณ 6 กม. มาถึงบ้าน ปี้ เลยบ้านปี้ จะเจอ สามแยก ปางค่า หมายเลข 1155 เลี้ยวซ้าย เส้นนี้ถนนดี และไม่อ้อม ถนนกว้างกว่า เส้นทางที่ 1 ห จะมีป้ายบอกทางไปภูชี้ฟ้าเป็นระยะ ๆ เส้นนี้ จะผ่านหมู่บ้านมาเรื่อย ๆจนถึงบ้านปางค่า จะมีทางแยก ขึ้นได้ 2 ทาง ถ้าเราเลี้ยวขวา จะเป็นทาง คดเคี้ยว ขึ้นไปหาบ้านพญาเลาอู บรรจบกับเส้นทางที่ 1 ทางเส้นนี้มีความคดเคี้้ยวและอันตรายมากไม่เหมาะสำหรับผู้ไม่ชำนานทาง (โดยส่วนตัว กุ๊งกิ๊ง เองชอบขึ้นทางนี้เพราะไปทำธุระบ่อยๆ เลยขอลงไว้นิดหนึ่งจ้า)
ดังนั้น ให้เราตรงไป ทางกว้างพอสมควรแต่ก็ต้องระมัดระวังให้มากเพราะโค้งหักศอกตลอดเส้นทาง ก่อนถึงบ้านเช้งเม้ง จะมีทางแยกไปอำเภอเชียงของด้วย
จนกระทั่งเนินโค้งสุดท้ายค่อนข้างชัน พบสามแยกจะมีป้ายสีฟ้าบอกชื่อที่พักมากมาย จุดนี้ท่านจะพบป้ายบอกทางไปผาตั้ง และป้ายภูชี้ฟ้า 2 ทางไม่ต้อง งง ภูชี้ฟ้าขึ้นได้ 2 ทาง ให้ท่านเลี้ยวซ้ายไปที่หาพักกันก่อน เส้นทางนี้จากอำเภอเทิง ถึง ภูชี้ฟ้า ระยะทางประมาณ 40 กม.

เส้นทางขึ้นภูชี้ฟ้า เส้นทางที่ 3

ท่านที่มาจากอำเภอเชียงของ หรือไปเที่ยวดอยตุง หรือแม่สายมาแล้วนิยมขึ้นทางนี้เพราะไม่ต้องอ้อมมาอำเภอเทิงอีก จะออกจากตัวอำเภอเชียงของ มาถึงสามแยก เข้าอำเภอเวียงแก่น ทางหลวงหมายเลข 1155 ก็จะตรงไปเรื่อยๆ จะมีป้ายบอกเป็นระยะ ๆ มาเรื่อยๆ จะมาเจอทางแยก และเลี้ยวซ้าย ที่บรรจบกับ เส้นทางที่ 2 เข้าบ้าน เช้งเม้ง และตรงขึ้นไปเรื่อยๆจะเจอสามแยก เลี้ยวซ้าย ดอยผาตั้ง เลี้ยวขวาไปภูชี้ฟ้า และศูนย์อำนวยการนักท่องเที่ยวของ อบต.ตับเต่า


การเดินทางด้วยรถโดยสาร

++ รถประจำทาง นั่งรถบัสสีฟ้าขาว สายเชียงราย-เทิง-เชียงคำ หรือ เชียงราย-เทิง-เชียงของ จากนั้นต่อรถสองแถวสีฟ้าสายเทิง-ปางค่า ท่ารถอยู่หลังตลาด อ.เทิง เข้าทางเข้าวัดพระนาคแก้ว ด้านข้างที่ว่าการอำเภอมีรถตั้งแต่ 06.00 น. เวลาออกไม่แน่นอน ต้องถามคนขับว่า จะไปภูชี้ฟ้าหรือไม่ ค่ารถ 50 บาท หรือเช่ารถสองแถว คิวรถอยู่หลังตลาดเทิง

*** ช่วงฤดูท่องเที่ยว (พ.ย.-ก.พ.) มีรถตู้บริการจากสถานีขนส่ง จ.เชียงราย-ภูชี้ฟ้า เที่ยวไป 07.15, 13.15 น. เที่ยวกลับ 09.30, 15.30 น. วิ่งประมาณ 2 ชม. ค่าบริการ 120-150 บาทต่อคน (บริษัท ก.สหกิจเดินรถ จำกัด โทร. 053-742429) แนะนำให้โทรจองก่อน เพราะรถมัคันเดียวต่อรอบ ยกเว้นเทศกาลอาจจะมีเสริม



ในพื้นที่จริงมีทางขึ้นได้หลายทาง แต่ขอแนะนำไว้เฉพาะ ที่น่าจะปลอดภัยที่สุด เมื่อเที่ยวภูชี้ฟ้า เสร็จ ก็จะไปกิน ขาหมูหมั่นโถที่ผาตั้งหรือ แวะถ่ายรูปกับดอกทิวลิป ก็เลือกกันตามใจชอบเลยจ้้า



ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น

หนึ่งในกองกำลัร่วมรบ ผกค. "กองพล93" แห่งทหารจีนคณะชาติ


เมื่อความหมายของความเป็นชาติ คือเกียรติ และศักดิ์ศรีของชีวิต เส้นทางของลูกผู้ชายคนหนึ่งคงไม่ต้องคิดอะไรให้มากกว่า "ไม่สู้ก็ตาย..."

นิยามง่ายๆ เมื่อ 'ชาติ' ถูกรังแก การลุกขึ้นต่อสู้กับผู้รุกรานย่อมเป็นสิทธิอันชอบธรรม แต่หากต้องมาเสียเลือดเนื้อด้วยการหันกระบอกปืนเข้าใส่กันเองแล้ว ความละเอียดอ่อนทำนองนี้ค่อนข้างจะอยู่เหนือวิสัยของเหตุผลพอสมควร วันเวลากว่าค่อนศตวรรษของใครคนหนึ่งถูกผูกติดด้วยสิ่งเหล่านี้มาโดยตลอด ใครบางคนที่ถูกเรียกขานกันว่าเป็น นักรบรุ่นสุดท้ายแห่งบ้านสันติคีรี

เรื่อง

" ในรัศมี 300 เมตร ล้วนมีแต่เสียงฝนหล่นกระทบกิ่งไม้ ฝนห่าใหญ่ในรอบหลายวันมานี้กำลังชะหน้าดินตามเนินตะปุ่มตะป่ำให้กลายเป็นกอง เลนขนาดย่อมๆ กลืนร่างในชุดสีเขียวขี้ม้านับสิบที่ซุกตัวแน่นิ่งกระจัดกระจายอยู่ตามแนว ชายป่า เกือบชั่วโมงก่อนฝนจะซาลงพอให้มองเห็นตัวป่าได้บ้าง หลายสายตาเริ่มสอดส่ายหากัน ทันทีที่เสียงแปลกประหลาดเริ่มใกล้เข้ามา ระบบเซฟในปืนของแต่ละคนถูกปลดออกพร้อมกระชับให้แน่นแนบกาย บางสายตาเล็งผ่านศูนย์นั่งแท่นในท่าเตรียมยิง ขณะนิ้วสอดเข้าโกร่งไกเพื่อรอเวลา

ชั่ว อึดใจ เสียงลูกตะกั่วแหวกอากาศ และประกายไฟจากปากกระบอกปืนยาวขนาดเล็กก็ดังระงมขึ้น หลายคนลุกขึ้นวิ่งเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายตรงหน้า ขณะที่บางคนร้องตระโกนด้วยความเจ็บปวดหลังกระสุนทะลวงชั้นเนื้อเข้าไปข้างใน ตัว ระเบิดที่ดังมาจากทุกทิศทาง ทำให้เกิดกลุ่มควันขนาดใหญ่อำพรางร่างทั้ง 2 ฝ่ายเอาไว้ เสียงสูดหายใจหอบถี่หลังเนินดิน สิ่งที่เรียนรู้จากการฝึกภาคสนามชั่วโมงนี้คงใช้ได้ไม่ดีเท่าประสบการณ์ และสัญชาตญาณของตัวเอง เงาเลือนรางกำลังเคลื่อนไหวอยู่ในม่านควัน หลังเพ่งสายตาดูจนแน่ใจแล้วเสียงปืนอีก 1 นัดก็ดังขึ้น...

การ ปะทะกันครั้งนั้นไม่ถึงกับถูกประทับตราในฐานะสมรภูมิแห่งความทรงจำ เพียงแต่เป็นวาบความคิดที่มักปรากฏขึ้นเมื่อถูกย้อนถามถึงคืนวันก่อนเก่าของ นายพล หลุย ยี่ เถียน วัย 92 ปี อดีตนายทหารแห่งกองทัพพรรคก๊ก มิน ตั๋ง หรือกองพล 93 แห่งดอยแม่สลอง

"ไม่ฆ่าเขาเราก็ตาย" เขาเอ่ยถึงสัจธรรมในสงคราม "



นับจากวันนั้น เป็นเวลาล่วงเลยมากว่า 30 ปีแล้วที่เสียงปืนของการสู้รบได้สิ้นสุดลง แต่เรื่องราวของกองทัพที่ซุกซ่อนตัวอยู่ในอ้อมกอดของขุนเขาก็ยังคงถูกเล่าขานสืบต่อเรื่อยมา






แสง อาทิตย์ขับสีนวลทองให้ทะเลหมอกโอบล้อมหมู่ทิวเขาที่เรียงรายสลับซับซ้อนสุก เปล่งราวกับภาพวาดจากมือจิตรกรชั้นครูมาตั้งอยู่ตรงหน้า บรรยากาศอย่างนี้ ชาอุ่นๆ ในมือ กับใครบางคนมานั่งดูชั่วโมงรุ่งอรุณบนยอดดอยด้วยกันข้างๆ ก็น่าจะเป็นอีกทริปในความทรงจำไปอีกนานแสนนาน

สุด สัปดาห์บนดอยแม่สลอง จังหวัดเชียงราย จึงกลายเป็นหมุดหมายอีกแห่งที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวคนแล้วคนเล่าให้ขึ้นมา สัมผัสบรรยากาศความโรแมนติกแบบนั้น

นอกจากความสวยงามของธรรมชาติในวันนี้ที่ผิดแผกออกไปจากบรรยากาศเมื่อ 30 ปี ก่อนอย่างสิ้นเชิง ครั้งหนึ่ง แม่สลองเคยถูกจัดอันดับให้อยู่ในโซนพื้นที่สีแดง แนวปะทะระหว่างกองกำลังคอมมิวนิสต์กับทหารฝ่ายรัฐบาลโดยอยู่ในเขตรับผิดชอบ ของกองพล 93

กองพล 93 (ก๊กมินตั๋ง) แต่เดิมเป็นกองทัพของรัฐบาลจีนภาคใต้ของจอมพลเจียง ไค เช็ก ซึ่งเป็นตัวแทนของฝ่ายรัฐบาลจีนที่ส่งมารักษาชายแดนจีน-พม่า หลังจากผืนแผ่นดินจีนกลายเป็นสีแดง เมื่อปี พ.ศ. 2492 พรรค คอมมิวนิสต์ และพรรคก๊ก มิน ตั๋งได้ทำการสู้รบครั้งสุดท้ายที่แม่น้ำ หยวน เจียง ตอนกลางของมณฑลยูนาน โดยจีนคอมมิวนิสต์เป็นฝ่ายได้รับชัยชนะ กองกำลังส่วนหนึ่งของก๊กมินตั๋งได้ฝ่าวงล้อมของฝ่ายตรงข้ามตามรอยตะเข็บของ จีน-พม่า และเข้ามายังบริเวณตอนเหนือของประเทศไทย ก่อนที่จะปักหลักกระจายตัวกันอยู่ในพื้นที่ จีนตอนใต้ พม่า ไทย ลาว ประมาณ 30,000 คน จากเหตุการณ์ในครั้งนั้น กองพล 93 จึง กลายเป็นทหารไร้สังกัด หนีการกวาดล้างของฝ่ายคอมมิวนิสต์ ก็มาตั้งหลักอยู่ที่เมืองเชียงลับ ในเขตประเทศพม่า โดยมีอาสาสมัครและครอบครัวลี้ภัยตามออกมาสมทบมากมาย จนได้จัดเป็นกองทัพได้ 5 กองทัพ ภายใต้คำบัญชาการของนายพล หลี่ หมี

ก่อนเข้าร่วมกองทัพ ในวัย 18 ปี ของ หลุย ยี่ เถียน ก็ไม่ต่างจากลูกผู้ชายชาวจีนคนอื่นๆ ที่มีใจรักชาติเหนือสิ่งอื่นใด การการรุกรานของกองทัพญี่ปุ่นในสงครามมหาเอเชียบูรพา ทำให้เขาและพรรคพวกอีกจำนวนหนึ่งจากมณฑลยูนนานบ้านเกิดไปเข้าโรงเรียนนาย ร้อยเพื่อรับใช้ชาติ


กองทัพแห่งขุนเขา

"เราเห็นความโหดร้ายของสงคราม เห็นประเทศชาติถูกรุกราน มันก็เป็นหน้าที่ของลูกผู้ชายทุกคนอยู่แล้วที่จะต้องออกมาปกป้องประเทศ" เขาให้เหตุผล

หลัง จากเรียนจบ งานแรกของเขาคือการปฏิบัติภารกิจใน นานกิง ก่อนจะย้ายกลับมาประจำการอยู่ที่ยูนนานเมื่อสงครามสิ้นสุดลง ต่อมาเมื่อเกิดเหตุการ 'จราจล' ของ มวลชนเนื่องจากความไม่พอใจในระบบการปกครองของพรรคก๊กมินตั๋ง และลุกลามใหญ่โตกลายเป็นพรรคคอมมิวนิสต์ทำสงครามปลดแอกประเทศจีน เขาได้เข้าร่วมกับฝ่ายจอมพลเจียงไคเช็ค โดยตรึงกำลังอยู่ทางตอนใต้ของจีน

"มัน ไม่มีเหตุผลในการเลือกข้างหรอก เราเป็นทหารของรัฐบาลกลางอยู่แล้ว หน้าที่ของเราก็ต้องร่วมมือกับรัฐบาลในการปราบปรามความไม่สงบ อีกอย่างถ้าผมเข้าไปอยู่ฝ่ายโน้นก็อาจจะโดนฆ่าตายไปนานแล้วก็ได้ เพราะที่นั่นมีนโยบายไม่ยอมรับคนที่มีการศึกษา คนที่มีฐานะร่ำรวย ยิ่งระดับนายทหารยิ่งถือเป็นศัตรูตัวฉกาจ" นายพลหลุยย้อนความทรงจำสมัยที่เขายังดำรงตำแหน่งนายทหารคนหนึ่งในกองทัพ

มุมมองของเขาถือว่า เหมาเจ๋อตุง เป็นนักการเมืองที่เก่งกาจคนหนึ่ง แต่วิธีการ และแนวคิดที่อยู่กันคนละขั้วทำให้เสือ 2 ตัวอยู่ถ้ำเดียวกันไม่ได้

"เขา เป็นนักการเมืองที่เก่ง มีมุมมอง มีวิธีการนำเสนอที่สามารถจูใจผู้คนส่วนใหญ่ได้ เขาอ้างว่าแนวคิดของเขาเป็นประชาธิปไตย ในขณะที่วิธีการของจอมพลเจียงก็คือเผด็จการ สงครามจึงเกิดขึ้น และสุดท้ายพรรคคอมมิวนิสต์ก็ได้รับชัยชนะ"





ปัจจัยแห่งความเปลี่ยนแปลง

จาก การแตกพ่ายครั้งแล้วครั้งเล่าของกองกำลังพรรคก๊กมินตั๋งทำให้ทหารต่างกระจัด กระจายออกไป กองทัพหลักของเจียง ไค เช็ค ได้ถอยไปปักหลักต่อสู้อยู่ที่เกาะไต้หวัน ขณะที่กองกำลังส่วนหนึ่งแตกทัพลงไปทางตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งติดกับชายแดน พม่า-ลาว

"เรา ถอยร่นลงมาเรื่อยๆ และกระจัดกระจายอยู่ชายแดนพม่า ไทย ลาว โดยมีฐานบัญชาการใหญ่อยู่ที่ เมืองสาด ประเทศพม่าก่อนจะย้ายมาอยู่ที่เมืองเชียงลับที่ติดฝั่งแม่น้ำโขง" นายพลหลุยขยายความ

พวกเขาใช้เมืองเชียงลับเป็นฐานที่มั่นยืนหยัดต่อมาได้อีก 8 ปี จนถึงปี 2504 รัฐบาลพม่าดำเนินการปราบปรามกองกำลังทหารจีนพลัดถิ่นเหล่านี้อย่างจริงจัง ทำให้กองกำลังของนายพลหลี่ หมี พ่ายแพ้ และกองทัพที่ 1, 2 และ 4 จำนวน 4,349 คน ได้ถูกส่งตัวไปไต้หวัน คงเหลือแต่กองทัพที่ 3 ของนายพลหลี่ เหวิน ฝาน และกองทัพที่ 5 ของ นายพล ต้วน ซี เหวิน ที่ไม่ต้องการไปไต้หวันและได้นำกำลังอพยพหนีการกวาดล้างของพม่าเข้าสู่ภาค เหนือของประเทศไทย โดยไต้หวันประกาศจะไม่สนับสนุนช่วยเหลือกองกำลังที่ตกค้างเหล่านี้อีก

การ 'ตัดหาง' ดังกล่าวไม่ใช่การทอดทิ้งหรือปัดภาระอย่างที่เข้าใจกัน กลับเป็น 'กลยุทธ์' ที่ฝ่ายก๊กมินตั๋งใช้เพื่อป้องกันการรุกรานของพรรคคอมมิวนิสต์

"เรา ได้รับสารลับจากจอมพลเจียง ให้ยึดฐานที่มั่นส่วนนี้เอาไว้ เพื่อรอโอกาสเข้าตีขนาบพรรคคอมมิวนิสต์ หรือหากกองทัพแดงจะเข้าตีไต้หวันเราก็จะจู่โจมทางด้านยูนนานเพื่อเป็นการ ป้องกันได้อีกทางหนึ่ง" นายพลหลุยอธิบาย

หาก มองถึงความเป็นไปได้ เขายอมรับว่าในตอนนั้นถึงฝ่ายตนเองจะพลาดท่าก่อน แต่ดูจากปัจจัยแวดล้อมต่างๆ แล้วในทางการทหารถือว่ายังมีโอกาสพลิกเกมกลับมาเป็นผู้ได้รับชัยชนะในภาย หลังได้ ทหารในกองกำลังที่ 3 และ 5 จึงตรึงกำลังอยู่ไม่สลายไปไหน แต่คงไม่มีใครรู้ว่าการตัดสินใจในครั้งนั้นจะเป็นจุดเริ่มต้นของชีวิตใหม่ในเวลาต่อมา

หลังจากกองพล 93 ถูกกดดันจากรอบด้านมากขึ้นเรื่อยๆ ในที่สุด กองทัพที่ 3 ก็ถอยร่นมาจนถึงอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ส่วนกองทัพที่ 5 ได้ถอยมาปักหลักอยู่ที่ดอยแม่สลอง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย โดยจอมพลถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น ได้มอบหมายให้พล.อ.อ.ทวี จุลทรัพย์ และพล.ท.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เป็นผู้เจรจากับไต้หวัน แต่ไม่สามารถตกลงกันได้ จนในปี 2513 อเมริกา ก็ได้ตกลงเข้ามาช่วย รัฐบาลไทยจึงอนุญาตให้กองทหารจีนอยู่ได้ในฐานะผู้อพยพ เพื่อเป็นกองกำลังกันชนตามแนวชายแดน ป้องกันการแทรกซึมของ ผกค.และพล.อ.อ. ทวี ได้ตั้งชื่อหมู่บ้านแห่งนี้ว่าบ้านสันติคีรี หมายถึงหมู่บ้านในขุนเขาที่สงบสุข ในขณะที่คนจีนเรียกว่าเรียกดอยนี้ว่า เหมย ซือ เล่อ เป็นความหมายเดียวกันว่า ดินแดนที่มีความสุข

หลังจากนั้น กองกำลังทหารจีน 93 ซึ่งภายหลังได้ชื่อว่ากองทหารจีนคณะชาติก็ได้เป็นกำลังสำคัญร่วมต่อสู้ต่อต้านเหล่า 'ผู้ก่อการร้าย' (ผกค.) ในแถบจังหวัดเชียงรายหลายครั้ง โดยสามารถลดอิทธิพล ผกค.บนดอยหลวง ดอยยาว และดอยผาหม่นลงได้มาก รวมถึงสมรภูมิเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ อันเป็นภารกิจสุดท้ายก่อนปลดอาวุธให้รัฐบาลไทย



เส้นทางสู่อนาคต

ระยะทางราว 42 กิโลเมตร จากตัวเมือง ผ่านถนนเลียดไหล่เขาเข้าสู่แหล่งชุมชนชาวเขาขนาดย่อมที่ซุกตัวอยู่ในอ้อมกอด ของขุนเขามานานนับทศวรรษ ในหมู่นักท่องเที่ยวรู้ดีว่า ที่นี่เป็นแหล่งปลูกชาที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย ทำให้ของซื้อของขายในตลาดประจำหมู่บ้านมักเกี่ยวข้องกับชาเป็นส่วนใหญ่ รวมทั้งขาหมูหมั่นโถวตำรับจีนยูนนานอันเป็นเอกลักษณ์ คุณสมบัติเหล่านี้ทำให้หมู่บ้านสันติคีรีในวันนี้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยว เชิงนิเวศที่น่าสนใจสำหรับนักท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่ง กลบภาพสมรภูมิอดีตให้เหลือไว้แต่เพียงเรื่องเล่าสู่คนรุ่นหลังได้ฟัง

ล่าสุด พื้นที่กว่า 9,000 ไร่ ของหมู่บ้านสันติคีรีได้อยู่ในโครงการปลูกป่ากองบัญชาการกองทัพไทย เป็นการฟื้นฟูพื้นที่ป่าเพื่อเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ดูแลโดยคนในชุมชนเอง โดยมีนายพลหลุย หรือ อรุณ เจริญทังจรรยา ประธานกรรมการหมู่บ้านเป็นคนดูแล

เขาเปิดเผยถึงสาเหตุของการเข้าเป็นพลเมืองไทยคนหนึ่งว่า เพราะความเป็นครอบครัวเดียวกันระหว่างคนไทยกับกองพล 93 ที่มีตลอดมา

"สงครามสิ้นสุดแล้ว และที่นี่ก็มี 2 กองทัพไม่ได้ มี 2 กฎหมาย ไม่ได้ ทุกอย่างต้องเป็นบรรทัดฐานเดียว เราจึงเข้าร่วมพัฒนาชาติไทย อีกอย่างทุกคนในกองพลไม่เคยคิดจะกลับไปไต้หวันหรือจีน เพราะมันไม่มีอะไรแล้ว ภารกิจสิ้นสุดแล้ว เราก็ถือว่าเราเป็นคนไทย ก็ไม่ได้มุ่งหวังว่าจะกลับไปจีน หรือไต้หวัน ถ้าจะกลับไปก็จะไปในฐานะแขกคนไทย"

กว่า 30 ปี ที่เขาดึงตัวเองออกจากสงครามมาใช้ชีวิตอย่างชาวบ้านธรรมดาคนหนึ่ง สิ่งที่รู้สึกอยู่ตลอดก็คือความสงบสุขของชีวิต ไม่ต้องห่วงหน้าพะวงหลังเหมือนอย่างแต่ก่อนอีก

"ตอนนี้คนในหมู่บ้านก็ถือเป็นรุ่นที่ 2-3 แล้ว เขาก็ขึ้นมาเป็นระดับผู้นำหมู่บ้านแทน เราถือว่ามาถึงจุดสิ้นสุดแล้ว ได้ออกจากภารกิจ ไม่ต้องคอยระวังตัวอยู่ตลอดเวลาเหมือนอย่างแต่ก่อน"

ช่วงเวลาที่ผ่านมาถือว่าคุ้มไหม?

"เหตุการณ์ไม่ได้เกิดจากใครคนใดคนหนึ่ง แล้วมันก็จบสิ้นไปนานแล้ว เราก็ต้องถือว่ามันเป็นความทรงจำไป"

รอยยิ้มหลังคำตอบนั้นก็ปรากฏขึ้น






-ปัจจุบัน ลูกหลานของผู้กล้าทหารจีนคณะชาติเหล่านั้นยังคงดำเนินชีวิตอยู่กันตามจุดต่างๆ ของดอยยาวและดอยผาหม่น ตามแผนหนึ่ง ในการรักษาที่มั่น-

ที่มา : oknation.net

เรื่องราวจากอดีต"พื้นที่สีแดง ผกค." ภูชี้ฟ้า - ผาตั้ง




ยุทธภูมิ ดอยยาว - ดอยผาหม่น

ในพื้นที่ชายแดนไทย – ลาว ตั้งแต่อำเภอเชียงแสน อำเภอเชียงของ อำเภอเวียงแก่น อำเภอขุนตาล อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย และ อำเภอเชียงคำ อำเภอภูซาง อำเภอปง อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา ในอดีตเคยมีการสู้รบอย่างรุนแรง ระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐ กับกลุ่มผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ที่ต้องการเปลี่ยนแปลงจากการปกครองจาก ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ให้เป็นระบอบคอมมิวนิสต์ ทั่วทั้งพื้นที่ปฏิบัติการเคยเป็นพื้นที่ ที่มีสถานการณ์การสู้รบ ระหว่างผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์กับฝ่ายรัฐ สถานการณ์ การต่อสู้ได้ยุติลงเมื่อ ปี ๒๕๒๕ นับว่าไม่นานเลย บุคคลที่เคยมีส่วนร่วมในเหตุการณ์ยังคงอยู่ทั้ง สองฝ่าย ดังนั้นบุคคลทั่วไปจึงควรที่จะได้รับรู้เหตุการณ์ในอดีตเพื่อจะได้เป็นข้อ เตือนใจ ของคนไทยต่อไป

วีรกรรมดอยยาว-ดอยผาหม่น เป็นอีก บทเรียนหนึ่ง ที่ยืนยันถึงบทบาทของกองทัพในการเป็นผู้พิทักษ์ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ขณะ ที่ฝ่ายผู้ก่อการร้ายที่ต้องการล้มล้างอำนาจรัฐเพื่อเปลี่ยนแปลง ระบอบการปกครองเป็นระบอบคอมมิวนิสต์ ด้วยการปฏิบัติการสงครามประชาชน ถูกกดดันด้วยการปฏิบัติการทางทหารอย่างรุนแรง ผสมผสานด้วยการดำเนินนโยบายทางด้านการเมือง เปิดโอกาสให้วางอาวุธ และมาต่อสู้ทางการเมืองในรัฐสภา ด้วยคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๖๖/๒๓ กองทัพได้ถูกจำกัดบทบาทอยู่นอกวง ของการต่อสู้ทางการเมืองด้วย วลีที่ว่าทหารต้องไม่ยุ่งกับการเมือง แต่โดยแท้จริงแล้วตามหลักการสงครามยืดเยื้อของ เหมา เจ๋อตุง ถือว่า สงครามคือการต่อเนื่องของการเมือง สงครามก็คือการเมืองและตัวสงครามเองก็คือการปฏิบัติการที่มีลักษณะการเมือง ตั้งแต่โบราณกาลเป็นต้นมา ไม่มีสงครามใดๆเลยที่ไม่มีลักษณะการเมืองติดอยู่ เมื่ออุปสรรคถูกขจัดไป ความ มุ่งหมายทางการเมืองบรรลุผล สงครามก็ยุติ ถ้าอุปสรรคยังขจัดไม่หมดสิ้น สงครามก็จะต้องดำเนินต่อไปเพื่อบรรลุผลให้ตลอด ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า การ เมืองคือสงครามที่ไม่หลั่งเลือด และสงครามคือการเมืองที่หลั่งเลือด ในสถานการณ์ สงครามประชาชน บทบาท ลีลาของการปฏิบัติการทางทหารควรจะเป็นอย่างไร นับเป็นปัญหาที่ต้องมีการพัฒนาคำตอบอยู่ตลอดเวลา

สถานการณ์การต่อสู้ในขณะนั้นสรุปได้ดังนี้

พคท.ได้แบ่งพื้นที่ในการปฏิบัติงานเป็น ๕ เขตงาน คือ

๑.เขตงาน ๕๒ ครอบคลุมพื้นที่ ดอยหลวง เขตติดต่ออ.เชียงของ,อ.เทิง,อ.เวียงชัย,อ.แม่จันและ อ.เชียงแสน

มีกำลังติดอาวุธประมาณ ๑๐๐ คน ลักษณะการปฏิบัติ เป็นการโฆษณาชวนเชื่อ หาสมาชิกกับราษฎรชาวเขา มีการปฏิบัติต่อเจ้าหน้าที่อย่างรุนแรงเมื่อมีโอกาส บริเวณที่เคลื่อนไหวได้แก่ บ.เย้าขุนแม่เปา( P.C. ๑๗๐๔),เย้าขุนแม่คำ( P.C.๓๖๔๒) บ.เย้าดอยหลวง( P.C.๓๙๔๖)ดอยขุนต๋ำ( P.C.๑๖๑๐)

๒.เขตงาน ๘ ครอบคลุมพื้นที่ดอยยาว ดอยผาหม่น อยู่ในเขต อ.เชียงของและอ.เทิง

มีกำลังติดอาวุธประมาณ ๖๐๐ คน มวลชนส่วนใหญ่เป็นชาวเขาเผ่าม้งให้การสนับสนุน ผกค.ประมาณ ๒๓๐๐ คน ลักษณะ การปฏิบัติ คือขัดขวางการปฏิบัติงานของ เจ้าหน้าที่ในการสร้างเส้นทาง และการพัฒนาพื้นที่เพื่อความมั่นคง มีการขยายงานมวชนลงสู่พื้นราบโดยเฉพาะเขตรอยต่อ อ.พาน กับ อ.แม่สรวย บริเวณ ที่เคลื่อนไหวได้แก่ ห้วยจะยิน(๔๔๙๘)(บก.เขตงาน ๘),ดอยสันป่าก่อ(๓๓๔๙๑๓),ขุนห้วยป่าตาล(๓๖๙๓),ขุนห้วยโป่ง(๓๗๘๘),บ.เล่าอู (๔๘๙๘๘๔),บ.เซ่งเม้ง(๔๗๙๙๓๘),บ.เล่าเจอ(๕๐๙๙๐๙),ดอยม่อนซัวยิ่ง(๕๐๙๘),ดอย ม่อนเคอ(๔๖๐๑),บ.ห้วยส้าน(๔๖๗๖),หมู่บ้านจัดตั้งได้แก่บ.ธงแดง(๔๓๐๑),บ.ธงรบ (๓๗๙๓)บ.ห้วยคุ(๕๔๐๓),บ.ห้วยหาน(๕๕๐๑)บ.ห้วยเหี๊ยะ(๕๓๙๗)

๓.เขตงาน ๙ ครอบคลุมพื้นที่ ดอยน้ำสา ดอยภูลังกา อยู่ในเขต อ.เชียงคำ และอ.ปง จว.พะเยา

มีกำลังติดอาวุธ ประมาณ ๔๐๐ คน มีมวลชนในพื้นที่ให้การสนับสนุน ประมาณ ๑๒๐๐ คน ฐาน ที่มั่นได้แก่ ดอยน้ำสา (๕๕๖๒),บ.แม้วหม้อ(๕๒๔๔),บ.ขุนน้ำลาว(๖๐๔๘)และบ.ขุนน้ำยาว(๖๙๖๑)ซึ่งอย่ใน เขตรอยต่อ ของอ.ปงกับ อ.ท่าวังผา จว.น่าน มวลชน ที่ให้การสนับสนุนได้แก่ บ.น้ำสา,บ.ป่ากล้วย,บ.ห้วยแฝก,บ.น้ำโต้ม,บ.แม้วหม้อ,บ.เย้าผาแดง,บ.เย้าหนอง ห้า,บ.เย้าต้นผึ้ง,บ.ใหม่ปางค่า,บ.ปางมะโอ

๔.เขตงาน ๗ ครอบคลุมพื้นที่ ดอยผาจิและลำน้ำสาว อยู่ในเขตรอยต่อของอ.ปง,อ.เชียงม่วน จว.พะเยา และกิ่งอ.บ้านหลวง,อ.ท่าวังผา จว.น่าน

มีกำลังติดอาวุธประมาณ ๕๐๐ คน มีมวลชนในพื้นที่ให้การสนับสนุนประมาณ ๒๐๐๐ คน ความเคลื่อนไหวที่สำคัญได้แก่ ขัดขวางการส่งกำลังของเจ้าหน้าที่ในการเข้าโจมตีฐานที่มั่น ดอยผาจิ - ผาช้างน้อย และขยายงานมวลชนลงสู่พื้นราบจากดอยผาจิเข้าสู่ อ.เชียงม่วน,อ.ปง จว.พะเยา และ อ.สอง จว.แพร่ รวมทั้งส่งสมาชิกชั้นนำไปเผยแพร่และชี้นำในเขตงานใหม่ จว.แม่ฮ่องสอน - จว.เชียงใหม่,จว.ลำพูนและจว.ลำปาง

๕.เขตงาน ๘/๑ ครอบคลุมพื้นที่ อ.พาน - อ.แม่สรวย จว.เชียงราย และอ.วังเหนือ จว.ลำปาง

มีกำลังติดอาวุธประมาณ ๑๒๐ คน การ ปฏิบัติที่สำคัญ ได้แก่การขยายงานมวลชน การโฆษณาชวนเชื่อหาสมาชิก จัดตั้งแนวร่วมในพื้นที่ ส่งสมาชิกไปฝึกอบรมในเขตงาน ๘ และ สปป.ลาว การสะสมอาวุธยุทโธปกรณ์รวมทั้งการก่อการร้ายด้วยการลอบโจมตีเจ้าหน้าที่



สรุปกำลังผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ในพื้นที่จว.เชียงราย - พะเยา

- กำลังติดอาวุธ ประมาณ ๑๖๐๐ - ๑๘๐๐ คน

- มวลชนให้การสนับสนุน ประมาณ ๖๐๐๐ - ๗๐๐๐ คน

เหตุการณ์และการปฏิบัติที่สำคัญสรุปได้คือ

๑. เมื่อ ๑๗ เม.ย. ๑๑ ผกค.ประมาณ ๘๐ - ๑๐๐ คนเข้าโจมตีฐานของตชด.ที่ บ.ห้วยคุ อ.เชียงของ ตชด.เสียชีวิต ๑๕ นาย

๒. เมื่อ ๒๐ ก.ย. ๑๓ ผกค.กลุ่มดอยหลวงได้ลวงเจ้าหน้าที่ ว่าจะเข้ามอบตัว เมื่อเจ้าหน้าที่ไปรับตัวที่บ.ห้วยกว๊าน ต.บ้านแซว อ.เชียงแสน แต่กลับซุ่มโจมตี เจ้าหน้าที่ ทำให้มีผู้เสียชีวิต ๓ นายคือ

- นายประหยัด สมานมิตร ผู้ว่าราชการ จว.เชียงราย

- พ.ต.อ.ศรีเดช ภูมิประหมัน รองผอ.ปค.เขต เชียงราย

- พ.อ.จำเนียร มีสง่า ผช.หน.ขว.ทภ.๓

๓. ยุทธการผาลาด (เป็นการฝึกร่วมประจำปี ๒๕๑๔)เมื่อ ๑ - ๓๐ เม.ย. ๑๔ บริเวณพื้นที่ฐานปฏิบัติการของผกค.ที่ดอยสันป่าก่อ,บ.เล่าอู,บ.ห้วยส้าน,ดอย น้ำสา,บ.แม้วหม้อในพื้นที่ อ.เชียงของ,อ.เทิงจว.เชียงรายและอ.เชียงคำ จว.พะเยา รวมมีกำลังพลเข้าปฏิบัติการ รวม ๕,๔๑๕ นาย

สรุปผล

- ฝ่ายเราเสียชีวิต ๒๒ นาย บาดเจ็บ ๗๘ นาย

- ฝ่าย ผกค.เสียชีวิต ๓๒๔ คน บาดเจ็บ ๖๐ คน

๔. ยุทธการผาภูมิ เป็น การฝึกร่วมประจำปี ๒๕๑๗ ระหว่าง๓ เหล่าทัพ ร่วมกับกำลังตำรวจ และพลเรือน เป็นการฝึกในลักษณะ ปฏิบัติจริง มีกองทัพบกเป็นผู้รับผิดชอบ ห้วงเวลาในการปฏิบัติคือ ๑ พ.ย. ๑๖ ถึง ๑๒ ม.ค. ๑๗ กำหนดพื้นที่เป้าหมายเป็น ๓ พื้นที่ คือ

-พื้นที่ดอยยาว – ดอยผาหม่น ซึ่งอยู่ในพื้นที่ อ.เชียงของ,อ.เทิง,จว.เชียงราย

- พื้นที่ แม้วหม้อ – ภูลังกา อ.เชียงคำ

- พื้นที่ดอยผาจิ – ผาช้างน้อย อ.ปง,อ.เชียงม่วน จว.พะเยา และ อ.เมือง จว.น่าน

๔.๑ สรุปยอดกำลังพล

ทบ. ๖,๙๒๕ นาย ทร. ๑,๒๗๔ นาย

ทอ. ๑,๗๗๒ นาย ตร. ๖๑๗ นาย

ชขส. ๑๘๗ นาย ชข.ชด. ๒๕ นาย

รวมทั้งสิ้น ๑๒,๑๘๗ นาย

๔.๒ สรุปผลการปฏิบัติ

๔.๒.๑ ฝ่ายเรา

-เสียชีวิต จากการรบ ๙ นาย ทางธุรการ ๖ นาย

- บาดเจ็บ จากการรบ ๕๑ นาย ทางธุรการ๓๒ นาย

๔.๒.๒ ผกค.

- เสียชีวิต ( ยึดศพได้ ๕ ศพ ) คาดว่าตาย ๕๐ คน

- บาดเจ็บประมาณ ๑๐๐ คน

๕. ยุทธการเกรียงไกร ๑๗ เมื่อ ๒๕ พ.ย. - ๖ ธ.ค. ๑๗

พื้นที่ ดอยยาว - ดอยผาหม่น

ภารกิจ ลว.กวาดล้าง ค้นหา ทำลาย

หน่วยปฏิบัติ ฉก.พล.๔ จัดตั้ง ทก.ยว. ๒ ประกอบด้วย ร้อย.ร.๔๗๒และ ร้อย.ร.๔๗๓

สรุปผล

- ฝ่ายเราเสียชีวิต ๒ นาย บาดเจ็บ ๑๓ นาย

- ผกค. ตรวจการเห็นบาดเจ็บ/ตาย ๕ คน

๖. ยุทธการเสนีย์ เมื่อ๙ - ๑๗ ก.พ. ๑๘

พื้นที่ ดอยยาว - ห้วยจะยิน กวาดล้าง ทำลาย ผกค.

ฉก.พล.๔

ทก.ยว.๑ ประกอบด้วย ร้อย.ร.๔๔๑,ร้อย.ร.๔๔๒,ร้อย.ร.๔๔๓(-)

ทก.ยว.๒ ประกอบด้วย ร้อย.ร.๔๗๑,ร้อย.ร.๔๗๒,ร้อย.ร.๔๗๓(-)

สรุปผล

ฝ่ายเรา

- เสีย ชีวิต ๙ นาย

- บาดเจ็บ สาหัส ๔๙ นาย , เล็กน้อย ๑๘ นาย

- สุนัข ตาย ๑ ตัว

ผกค.

- ตรวจพบถูกยิง บาดเจ็บ/ตาย ๗ คน

- ทราบภายหลัง เสียชีวิต ๕๗ คน บาดเจ็บ ๒๙ คน

๗. ผกค.ซุ่มโจมตีราษฎร อ.แม่สรวย ที่ บ.ห้วยไคร้ ต.ตับเต่า อ.เทิง จว.เชียงราย เมื่อ ๓ มี.ค. ๒๐

-ราษฎร กลับจากการฝึก บ.ปางค่า ถูกซุ่มที่ บ.ห้วยไคร้

- ราษฎร เสียชีวิต ๒๗ คน บาดเจ็บ๑๔ คน (ทหาร ๑ คน)

๘. วีรกรรมขุนห้วยโป่ง ๒๐ - ๒๓ ม.ค. ๒๑ กวาดล้างทำลายผกค.บริเวณ ขุนห้วยโป่ง

หน่วยปฏิบัติ ทก.ยว. ๒ ประกอบด้วย ร้อย.ร.๔๗๑และร้อย.ร.๔๗๒

สรุปผล

ฝ่ายเรา

- เสียชีวิต ๑ นาย บาดเจ็บสาหัส ๗ นาย เล็กน้อย ๑๗ นาย

ผกค.ทราบจากแหล่งข่าว

- เสียชีวิต ๗๐ คน บาดเจ็บ๓๕ คน

ผกค. ถอนตัวจาก ขุนห้วยโป่งไปอยู่ขุนห้วยจะยิน ทำให้สามารสร้างเส้นทาง บ.ป่าบง - บ.ปางค่า

๙. วีรกรรม ร.ท.ทายาท คล่องตรวจโรคและร.ท.ปิยวิพากษ์ เปี่ยมญาติ ณ บ.ไฮ้ ต.ตับเต่า อ.เทิง จว. ช.ร. เมื่อ๑๗ มี.ค. ๒๒

๑๐. วีรกรรมยึดเนิน ห้วยตีนตก ปี ๒๕๒๒ - ๒๕๒๓

หน่วยปฏิบัติ พัน.ร. ๔๗๓

ภารกิจ เข้าแย่งยึดพื้นที่อิทธิพลของผกค.เพื่อสนับสนุนการสร้างทางสายบ.ปี้ - บ.ปางค่า - บ.ลุง

สรุปผล

- การยึดห้วยตีนตก ๒ พ.ค.๒๒ จัดกำลัง ๓ ร้อย.ร.

ฝ่ายเรา เสียชีวิต ๗ คน บาดเจ็บ ๑๙ คน

ผกค. ไม่ทราบการสูญเสีย

- การยึดเนิน ๔๗๑ ๔ ก.ค.๒๒ จัดกำลัง๒ ร้อย.ร.

ฝ่ายเรา เสียชีวิต ๘ นาย บาดเจ็บ ๒๘ นาย

- การยึดเนิน ๘๒๔ ๑ ก.พ. ๒๓ จัดกำลัง ๑ ร้อย.ร. ,ชุดคุ้มกันสร้างทาง ๑๕๐ นาย

ฝ่ายเรา เสียชีวิต ๕ นาย บาดเจ็บ ๑๒ นาย

ผกค. เสียชีวิต ๑๒ นาย บาดเจ็บ ๒๒ นาย

- การยึดเนิน ๗๖๐ เมื่อ๘ พ.ค. ๒๓ จัดกำลัง๑ ร้อย.ร.,ชุดคุ้มกันสร้างทาง ๒๘๐ คน

ฝ่ายเรา เสียชีวิต ๗ นาย บาดเจ็บ ๒๗ นาย

ผกค.เสียชีวิต ๑๗ นาย บาดเจ็บ ๒๔ นาย

๑๑. ยุทธการอิทธิชัย ๒๓ วีรกรรมยึดดอย ม่อนเคอ ปี ๒๕๒๓

เมื่อ ๑๑ ส.ค. ๒๓ พัน.ร.๔๗๓ จำนวน ๑๖ ชป. ทหารพราน และตชด. ๕ ชป. ซึ่งเป็นกำลังที่จัดจากร้อย.ร. ๔๗๓๑,ร้อย.ร.๔๗๓๒และร้อย.ร.๔๗๑๓ ภารกิจ แย่งยึด ดอยม่อนเคอ ซึ่งเป็นเขตฐานที่มั่นของผกค.

สรุปผล สามารถยึดที่หมายได้

- ฝ่ายเราเสียชีวิต ๑ นาย บาดเจ็บ ๒๐ นาย (สาหัส ๘ นาย)

๑๒. ยุทธการเกรียงไกร วีรกรรมที่เนิน๑๑๘๘ พญาพิภักดิ์ สันดอยยาว ๑๙ - ๓๐ พ.ค. ๒๔

ภารกิจ กวาดล้าง ผกค.บริเวณ เนิน๑๑๘๘ ดอยพญาพิภักดิ์ หน่วยปฏิบัติ จัดกำลัง เข้าตี ๔ ทิศทาง ประกอบด้วยหน่วยต่างๆคือ

- พัน.ร.๔๗๑ จัดกำลังจำนวน ๒๔ ชป. - ร้อย. ๓ ตชด. - ร้อย.อส.

- ทพ. - มว.ช. - มว.สุนัขสงคราม

- ชุด ผตน.ป.

ผล สามารถยึดเนินพญาพิภักดิ์ และเนิน ๑๐๒๐ สถาปนาเป็นฐานที่มั่นถาวรได้สำเร็จ

ฝ่ายเราเสียชีวิต ๓ นาย บาดเจ็บ ๑๔ นาย

ผกค.เสียชีวิต ๒๓ คน บาดเจ็บ ๕๐ คน

๑๓. การเข้ายึดดอยผาจิ สลายเขตงาน ๗ ของผกค. ๒๒ มี.ค. ๒๕

กำลังที่ใช้

- พ.ต.ท.๓๑ - พ.ต.ท. ๓๒

- พัน.ร.ผสม ๗๔๒ - ทหารพรานจู่โจมค่ายปักธงชัย

- อส.จ.น่าน

สามารถสลายเขตงาน ๗ ของผกค.ลงได้ ยุติการสู้รบลงตั้งแต่นั้นมา


ที่มา : our-teacher.com

ทำความรู้จัก จังหวัดเชียงราย Chiangrai North Thailand

คำขวัญ : " เหนือสุดในสยาม ชายแดนสามแผ่นดิน ถิ่นวัฒนธรรมล้านนา "

ประวัติ :
จังหวัดเชียงราย หรือ เมืองเชียงราย เดิมอยู่ในอาณาจักรโยนกเชียงแสนครับ มีประวัติการสร้างเมืองเมื่อ พ.ศ. 1600 ต่อมาพ่อขุนเม็งรายยกทัพมาประทับที่เมืองกู่เต้า ช้างชัยมงคลของพระองค์เกิดหายไป พระอง์ได้ทรงออกตามหาไปจนถึงดอยจอมทองบริเวณริมฝั่งแม่น้ำกก พระองค์ทรงเห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของดินแดนในแถบนี้ จึงได้สร้างเมืองขึ้น และทรงขนานนามว่า เมืองเชียงราย และอพยพผู้คนมาอยู่ที่เมืองใหม่แห่งนี้ครับ ต่อมาอาณาจักรล้านนาเสียแก่พม่า
เมืองเชียงรายจึงเป็นเมืองขึ้นของพม่าด้วย และต่อมาได้กลับกลายมาขึ้นต่อกรุงรัตนโกสินทร์ ตราบมาจนทุกวันนี้ครับ


อาณาเขต :

ทิศเหนือ ติดต่อกับ พม่า
ทิศใต้ ติดต่อกับ จังหวัดพะเยา
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ จังหวัดเชียงใหม่
ทิศตะวันอออก ติดต่อกับ ลาว

จังหวัด เชียงราย เป็นจังหวัดที่อยู่เหนือสุดของประเทศไทย ห่างจากกรุงเทพฯ เป็นระยะทาง 785 กิโลเมตร มีพื้นที่ 11,678.4 ตารางกิโลเมตร ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาสูง และมีที่ราบอันอุดมสมบูรณ์ริมฝั่งแม่น้ำหลายสาย มีแม่น้ำสายสำคัญ คือ แม่น้ำกก และแม่น้ำอิง อากาศในจังหวัดเชียงรายจะค่อนข้างอบอุ่น แต่ในฤดูหนาวจะหนาวจัด

จังหวัดเชียงรายแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 12 อำเภอ และ 4 กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอเชียงของ อำเภอเทิง
อำเภอพาน อำเภอแม่จัน อำเภอเชียงแสน อำเภอแม่สาย อำเภอแม่สรวย อำเภอเวียงป่าเป้า อำเภอป่าแดด อำเภอเวียงชัย อำเภอพญาเม็งราย กิ่งอำเภอเวียงแก่น กิ่งอำเภอแม่ฟ้าหลวง กิ่งอำเภอขุนตาล กิ่งอำเภอแม่ลาว




แผนที่ ที่ท่องเที่ยว ในเขตจังหวัดเชียงราย




แผนที่ถนนในตัวเมือง จังหวัดเชียงราย


View Larger Map